วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย ฟรี
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พรฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
เป็นแนวข้อสอบ ที่ใช้ในการสอบ สอบ กพ สอบท้องถิ่น ภาค ก. ภาค ข
สอบครูผู้ช่วย ของหน่วย งานราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุกหน่วยงาน
ใช้ในการ สอบราชการ สอบบรรจุทำงานราชการ
ข้อสอบ กพ ข้อสอบท้องถิ่น ข้อสอบครูผู้ช่วย หรือ สอบภาค ก ภาค ข สอบรัฐวิสาหกิจ ล้วนใช้หลักการในออกข้อสอบที่คล้ายคลึงกัน ความยากง่ายแทบไม่ต่างกัน หลักการสำคัญคือความเข้าใจที่เรามีต่อวิชานั้นๆ ผ่านมากี่ยุคกีสมัย ก็ยังเป็นไปแนวทางเดิม เพราะหลักของโจทย์มิได้เปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนแต่เพียงรูปแบบภายนอก
ฉะนั้นการจับใจความจึงเป็นหลักสำคัญ และการที่เราได้อ่านข้อสอบบ่อยๆ ลองทำแบบทดสอบบ่อยๆ โดยมีคำเฉลยอธิบายที่ละเอียดและชัดเจนเพียงพอ ก็จะทำให้เราเกิดความชำนาญ และสามารถจับใจความหลักนั้นได้เอง
แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
แนวข้อสอบ กฏหมายการปฎิบัติงานราชการ
ในชุดที่ 1 จำนวน 4 ชุด จะมีข้อสอบจำนวน 40 ข้อ พร้อมคำเฉลยอธิบายละเอียด จะเป็นแบบทดสอบที่เกี่ยวข้องกับ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
โดยความสำคัญของ พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน คือการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สุขและความเป็นอยู่ที่ดีต่อประชาชน ส่วนราชการต้องถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางแนวทางการทำงานต้องสอดคล้องกับภารกิจรัฐ ซื่อสัตย์สุจริต ตรวจสอบได้ ก่อนเริ่มดำเนินการต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ให้รอบคอบด้าน มีกลไกการตรวจสอบ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เมื่อเกิดปัญหาต้องแก้ไขโดยเร็ว
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายต่อไปนี้
– เกิดผลประโยชน์สุขต่อประชาชน
– เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
– มีประสิทธิภาพคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ
– ไม่มีขั้นตอนเกินความจำเป็น
– ปรับปรุงภารกิจที่ทันต่อสถานการณ์
– อำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
– ประเมินผลการทำงานสม่ำเสมอ
สารบัญ
1. ข้อสอบ พรฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ชุดที่ 1
2. ข้อสอบ พรฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ชุดที่ 2
3. ข้อสอบ พรฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ชุดที่ 3
4. ข้อสอบ พรฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ชุดที่ 4
5. สรุป พรฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย (แบบทดสอบที่ 1)
ข้อสอบ กฎหมายในการปฏิบัติงานราชการ พร้อมเฉลย จำนวน 10 ข้อ : เป็นข้อสอบ ที่เกี่ยวกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
1. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
1. เพื่อประเมินการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
3. ให้มีขั้นตอนการทำงานที่หลากหลายระดับ เหมาะสมแก่ภารกิจ
4. เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน
ดูเฉลย
1) เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน
2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4) ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกิดความจำเป็น
5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
2. ข้อใดคือความหมายของการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
1. การบริหารที่คำนึงถึงความผาสุกของประชาชนและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
2. การบริหารที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ
3. การบริหารที่มีเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.การบริหารงานที่มีเป้าหมายชัดเจน มีขั้นตอนการวางแผนที่ดี
ดูเฉลย
3. ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
1. ต้องรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมเพื่อปรับปรุงการทำงาน
2. ในการกำหนดภารกิจของรัฐ ต้องมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ
3. ก่อนการดำเนินการต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลดี ผลเสียในรอบด้าน
4. ไม่มีข้อถูก
ดูเฉลย
1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ของตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
2) การปฎิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริตสามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
3) ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวอเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชนส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงผลประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความลุงพอใจของสังคมโดยและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไปและให้แจ้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบด้วย
4. กรณีที่ภารกิจใดที่มีความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่นจะต้องทำอย่างไร
1. รายงานปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อตรวจสอบแก้ไข
2. ให้ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ
3. ให้มีการประชุมเพื่อวางแผนแก้ไขระเบียบข้อกำหนดการทำงานไม่ให้ทับซ้อนกัน
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
5. หน่วยงานใดเป็นผู้จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
1. สํานักงบประมาณ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2. สำนักงบประมาณ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. สำนักงบประมาณและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
4. ไม่มีข้อถูก
ดูเฉลย
6. พระราชกฤษฎีการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ตราขึ้นตามกฎหมายใด
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
ดูเฉลย
7. ใครเป็นผู้กําหนดให้ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาในทางปฏิบัติราชการ และจะปฏิบัติเมื่อใด และต้องมีเงื่อนไขอย่างไร
1. คณะรัฐมนตรี
2. นายกรัฐมนตรี
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
8. หน่วยงานใดมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะคณะรัฐมนตรี ก่อนการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาใ นการที่จะให้ส่วนราชการปฏิบัติเมื่อใด และจะมีต้องมีเงื่อนไขอย่างใด
1. สํานักงบประมาณ
2. ก.พ.ร.
3. ก.พ.
4. สํานักนายกรัฐมนตรี
ดูเฉลย
9. คําว่า “ส่วนราชการ” ตามความหมาย พรฏ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 นั้นให้ความหมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายใด
1. ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
2. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
3. ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
10. ข้อใดถูกต้อง เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี นั้นจะต้องบริหารราชการให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดกี่ประการ
1. 3 ประการ
2. 5 ประการ
3. 7 ประการ
4. ขึ้นอยู่มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายรัฐบาล
ดูเฉลย
1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น
5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6. ประชาชนได้รับการอํานวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย (แบบทดสอบที่ 2)
ข้อสอบ กฎหมายในการปฏิบัติงานราชการ พร้อมเฉลย จำนวน 10 ข้อ : เป็นข้อสอบ ที่เกี่ยวกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
1. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายตามข้อใด
1. เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
2. เกิดความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
3. เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ
4. ไม่มีข้อใดผิด
ดูเฉลย
2. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดําเนินการโดยถืออะไรเป็นศูนย์กลางในการบริการจากรัฐ
1. นโยบายประเทศ
2. สังคมและชุมชน
3. ผู้นําและประชาชน
4. ประชาชน
ดูเฉลย
3. ในการกําหนดภารกิจของรัฐ และส่วนราชการ จะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชนและสอดคล้องตามข้อใด
1. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ
2. สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ
3. สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและที่ ก.พ.ร.กําหนด
4. สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี
ดูเฉลย
(1) การกําหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวทางนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
(2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
(3) ก่อนดําเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กําหนดขั้นตอนการดําเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใด จะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดําเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทําความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับภารกิจนั้น
(4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฎิบัติราชการให้เหมาะสม
(5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดําเนินการ ให้ส่วนราชการดําเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดําเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไปและแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วยการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกําหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกําหนดแนวทางการดําเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้
4. ในการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ส่วนราชการจะต้องปฏิบัติภารกิจนั้น จะต้องดําเนินการตามข้อใด เป็นอันดับแรก
1. กําหนดภารกิจการบริหารราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ
2. จัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามภารกิจหลักเกณฑ์และวิธีที่ส่วนราชการกําหนดขึ้น
3. รับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการมาศึกษาวิเคราะห์แล้วกําหนดภารกิจ
4. จัดทําแผนปฏิบัติการไว้เป็นการล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณ ตลอดจนเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ
ดูเฉลย
(1) ก่อนดําเนินการภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(2) การกําหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (1) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดําเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ ของภารกิจและตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ
(3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกําหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร.กําหนด
(4) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดําเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
5. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองทีดี พ.ศ. 2546 คืออะไร
1. เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ
2. มีการปฏิรูประบบราชการ
3. เพื่อให้การบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
6. กรณีที่ องค์กรมหาชน หรือ รัฐวิสาหกิจใด ไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ผู้มีอํานาจพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจนั้น ดําเนินการให้ถูกต้องคือใคร
1. กระทรวงมหาดไทย
2. คณะรัฐมนตรี
3. ก.พ.ร.
4. รัฐมนตรีที่กํากับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ
ดูเฉลย
7. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ดูแล และให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทําหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
1. สํานักนายกรัฐมนตรี
2. กระทรวงมหาดไทย
3. คณะรัฐมนตรี
4. ก.พ.ร.
ดูเฉลย
8. หน่วยงานใด ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
1. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
2. องค์กรมหาชน
3. รัฐวิสาหกิจ
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
มาตรา 52 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอํานวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7 ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยดูแลและให้ความช่วยเหลือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทําหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 53 ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกานี้ ให้แจ้งรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่กํากับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้นดําเนินการให้ถูกต้องต่อไป
9. หน่วยงานใด มีอํานาจเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษ หรือจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการ
1. ส่วนราชการที่ปฏิบัติงาน
2. คณะผู้ประเมินอิสระ
3. คณะรัฐมนตรี
4. ก.พ.ร.
ดูเฉลย
มาตรา 48 ในกรณีที่ส่วนราชการใดดําเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดรวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร.เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบําเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการ หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนําไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา 49 เมื่อส่วนราชการใดได้ดําเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงาน และผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ หรือสามารถดําเนินการตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กําหนด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนําไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
10. ผู้มีอํานาจในส่วนราชการ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการความคุ้มค่าในภารกิจ คือใคร
1. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
2. องค์กรมหาชน
3. รัฐวิสาหกิจ
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ก่อนจะดําเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(2) การกําหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม(1)ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดําเนินการของแต่ละขั้นตอนเป้าหมายของภารกิจผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ
(3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกําหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กําหนด
(4) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดําเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
มาตรา 45 นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตาม มาตรา 9 (3) แล้วให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดําเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กําหนด
ไฟล์ แนวข้อสอบ PDF
หนังสือแบบเล่ม
แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย (แบบทดสอบที่ 3)
ข้อสอบ กฎหมายในการปฏิบัติงานราชการ พร้อมเฉลย จำนวน 10 ข้อ : เป็นข้อสอบ ที่เกี่ยวกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย (แบบทดสอบที่ 4)
ข้อสอบ กฎหมายในการปฏิบัติงานราชการ พร้อมเฉลย จำนวน 10 ข้อ : เป็นข้อสอบ ที่เกี่ยวกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
1. ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง
1. งบประมาณรายจ่ายแต่ละปี
2. การจัดซื้อจัดจ้างที่จะดําเนินการในปีงบประมาณนั้น
3. สัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
มาตรา 44 ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่จะดําเนินการในปีงบประมาณนั้น และสัญญาใดๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว ให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ ณ สถานที่ทําการของส่วนราชการ และระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบหรือความเสียหายแก่บุคคลใดในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ในการจัดทําสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมิให้มีข้อความหรือข้อตกลงห้ามมิให้เปิดเผยข้อความ หรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว เว้นแต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางราชการหรือในส่วนที่เป็นความลับทางการค้า
2. การอํานวยความสะดวก และความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ส่วนราชการใดต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
1. กระทรวง ทบวง กรม
2. จังหวัด อําเภอ
3. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. กระทรวงคมนาคม
ดูเฉลย
3. ส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนหรือจากส่วนราชการด้วยกัน มีหน้าที่ต้องตอบคําถามหรือแจ้งการดําเนินการให้ทราบภายในกี่วัน
1. 7 วัน
2. 10 วัน
3. 15 วัน
4. 30 วัน
ดูเฉลย
มาตรา 38 เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน หรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคําถามหรือแจ้งการดําเนินการให้ทราบภายในสิบห้าวันหรือภายในกําหนดเวลาที่กําหนดไว้ตาม มาตรา 37
มาตรา 37 ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการกําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน และประกาศให้ประชาชนแลข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ส่วนราชการใดมิได้กําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานใด และ ก.พ.ร. พิจารณาเห็นว่างานนั้นมีลักษณะที่สามารถกําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จได้ หรือส่วนราชการได้กําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จไว้แต่ ก.พ.ร. เห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าเกินสมควร ก.พ.ร. จะกําหนดเวลาแล้วเสร็จให้ส่วนราชการนั้นต้องปฏิบัติก็ได้ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องตรวจสอบ ให้ข้าราชการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
4. ผู้มีหน้าที่แจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรก ที่มาติดต่อและตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จําเป็นนั้นประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ คือใคร
1. ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
2. ปลัดกระทรวง
3. อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วม
ดูเฉลย
มาตรา 30 ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน กระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใด ๆ ที่เป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว
5. ผู้มีหน้าที่จัดให้ส่วนราชการภายในกระทรวงจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือใคร
1. ปลัดกระทรวง
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
3. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
6. กรณีผู้บังคับบัญชาสั่งราชการด้วยวาจา ผู้รับคําสั่งจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1. รีบปฏิบัติราชการตามคําสั่ง
2. บันทึกคําสั่งด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษร
3. แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร
4. ถูกทั้ง 2 และ 3
ดูเฉลย
7. พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กําหนดเรื่องการสั่งราชการอย่างไร
1. ปกติให้กระทําเป็นลายลักษณ์อักษร
2. กรณีมีความจําเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้
3. สั่งราชการด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของผู้บังคับบัญชา
4. ถูกทั้ง 1 และ 2
ดูเฉลย
8. การจัดซื้อจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดําเนินโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงอะไรบ้าง
1. ประโยชน์และผลเสียทางสังคม
2. ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้
3. ราคา และประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการ
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
9. หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดําเนินการอยู่เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี
1. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. สํานักงบประมาณ
3. กรมบัญชีกลาง
4. ถูกทั้ง 1 และ 2
ดูเฉลย
10. ส่วนราชการต้องคํานวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบรายงานต่อหน่วยงานใด
1. สํานักงบประมาณ
2. ก.พ.ร.
3. กรมบัญชีกลาง
4. ถูกทุกข้อ
ดูเฉลย
1. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะให้ส่วนราชการปฏิบัติ
1. สํานักงบประมาณ
2. คณะรัฐมนตรี
3. กรมบัญชีกลาง
4. กระทรวงการคลัง
ดูเฉลย
2. หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดแนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ
1. สํานักงบประมาณ
2. ก.พ.ร.
3. คณะรัฐมนตรี
4. ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ดูเฉลย
มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สํานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงบประมาณ ร่วมกันจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดําเนินการจัดทําภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น
3. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. ภาพพจน์ที่ดีในสายตาต่างประเทศ
4. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
ดูเฉลย
(1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น
(5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(6) ประชาชนได้รับการอํานวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
4. ข้อใดไม่ใช่ การบริหารราชการโดยถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง
1. ก่อนดําเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสีย
2. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต
3. รับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยส่วนรวม
4. ต้องรายงานผลการปฏิบัติต่อรัฐสภาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ดูเฉลย
(1) การกําหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
(2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
(3) ก่อนเริ่มดําเนินการส่วนราชการต้องจัด ให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้านกําหนดขั้นตอนการดําเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดําเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือชี้แจงทําความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
(4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็น และความพึงพอใจของสังคม โดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
(5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดําเนินการ ให้ส่วนราชการดําเนินการ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่น หรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดําเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไปและให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วยการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกําหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ก.พ.ร. จะกําหนดแนวทางการดําเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้มาตรา 7 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
5. เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการกระทำการใด
1. ปรึกษาหารือกัน
2. บริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน
3. ประสานแผนกัน
4. สัมมนาร่วมกัน
ดูเฉลย
6. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารแบบบูรณาการร่วมกัน
1. ประโยชน์สุขของประชาชน
2. ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น
ดูเฉลย
7. การจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินต้องเสนอต่อ ครม.ภายในกี่วัน นับตั้งแต่วันที่ ครม.แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
1. 45 วัน
2. 60 วัน
3. 90 วัน
4. 120 วัน
ดูเฉลย
นโยบายต่อรัฐสภาเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดําเนินการจัดทําภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น
8. ในการจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้จัดทําเป็นแผนกี่ปี
1. 1 ปี
2. 2 ปี
3. 4 ปี
4. 5 ปี
ดูเฉลย
มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงบประมาณ ร่วมกันจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดําเนินการจัดทําภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น
9. เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้สํานักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา และสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทําแผน
1. นิติรัฐ
2. นิติบัญญัติ
3. พัฒนากฎหมาย
4. นิติธรรม
ดูเฉลย
10. ให้ส่วนราชการจัดทําสิ่งใด ในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด
1. ต้นทุน
2. บัญชี
3. บัญชีต้นทุน
4. บัญชีทุน
ดูเฉลย
ทำแบบทดสอบเพิ่มเติม
สรุป : สาระสำคัญ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ 2546
แนวข้อสอบ กฏหมายการปฎิบัติงานราชการ ที่ใช้ออกข้อสอบ เพื่อการ สอบราชการ
1. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ 2546”
2. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายต่อไปนี้
– เกิดผลประโยชน์สุขต่อประชาชน
– เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
– มีประสิทธิภาพคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ
– ไม่มีขั้นตอนเกินความจำเป็น
– ปรับปรุงภารกิจที่ทันต่อสถานการณ์
– อำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
– ประเมินผลการทำงานสม่ำเสมอ
3. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน คือการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สุขและความเป็นอยู่ที่ดีต่อประชาชน ส่วนราชการต้องถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางแนวทางการทำงานต้องสอดคล้องกับภารกิจรัฐ ซื่อสัตย์สุจริต ตรวจสอบได้ ก่อนเริ่มดำเนินการต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ให้รอบคอบด้าน มีกลไกการตรวจสอบ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เมื่อเกิดปัญหาต้องแก้ไขโดยเร็ว
4. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจรักต้องมีการจัดทำแผนล่วงหน้า กำหนดรายละเอียดขั้นตอนและงบประมาณที่จะใช้เป้าหมายผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดความสำเร็จมีการติดตามประเมินผล หากเกิดผลกระทบต่อประชาชนต้องแก้ไขโดยเร็ว ให้ส่วนราชการพัฒนาความรู้ในส่วนราชการโดยมีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยให้คณะรัฐมนตรีมีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการเมื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้มีการจัดทำแผนโดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณมีหน้าที่ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วันนับแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
การจัดทำแผนให้จัดทำเป็นแผน 4 ปี ต้องสอดคล้องกับนโยบายพื้นฐานแห่งชาติ และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ในแต่ละปีงบประมาณใช้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อผ่านความเห็นชอบก็จะได้รับกัน จัดสรรงบประมาณ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ขอให้จัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของปฏิบัติงานต่อคณะรัฐมนตรี การปรับจะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่งานหรือภารกิจใดไม่อาจดำเนินการได้ต่อไป หรือหมดความจำเป็น เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับแผนแล้ว ให้ดำเนินการแก้ไขแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกันด้วย
5. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าแก่ภารกิจรัฐ ได้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลา และงบประมาณ ให้สำนักงบประมาณประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจรัฐเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีในการประเมินความคุ้มค่า โดยไม่คำนึงถึงสภาพและประเภทของแต่ละภารกิจ ความเป็นไปได้และประโยชน์ที่ได้รับ ในการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม
6. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งรับผิดชอบเรื่องนั้นโดยตรง เพื่อทำให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการทำงาน โดยต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมาควบคุม
7. การปรับปรุงภารกิจส่วนราชการ ให้ส่วนราชการทบทวนความจำเป็นของภารกิจตน โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดินนโยบายคณะรัฐมนตรี และงบประมาณของประเทศประกอบกัน
ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใด ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการนั้นขึ้นอีกเว้นแต่มีการเปลี่ยนแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และมีเหตุจำเป็นอื่น ให้มีการตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ได้ประกาศเพื่อดำเนินการปรับปรุง ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์
8. การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน ให้ส่วนราชการที่ทำงานด้านบริการประชาชน กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนทราบ หน่วยงานใดได้รับการสอบถามจากประชาชนเป็นหนังสือ ให้ตอบหรือแจ้งการดำเนินการกลับภายใน 15 วันหรือตามกำหนด
ให้จัดให้มีเครือข่ายสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในส่วนราชการ
9. การประเมินผลการปฏิบัติราชการ จัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนราชการอาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับก็ได้
ในการประเมินผลการทำงานของข้าราชการให้คำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ ในกรณีที่หน่วยงานใดดำเนินงานมีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการนั้น
ฝากเก็บดวงดาวให้กับเนื้อหาข้อมูล-สินค้าบริการของหน้านี้ด้วยจ้า
(ดวงดาวจะถูกส่งตรงไปที่ Google Search Engine Result)คะแนนจะนับครั้งแรกต่อ 1 ip = 1 ความเห็น
(♥ ขอขอบคุณทุกๆดวงดาวที่เรามีให้กัน ♥)
ตัวอย่าง แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย PDF
แนวข้อสอบท้องถิ่น 67 PDF
PDF แนวข้อสอบท้องถิ่น 67 68 พร้อมเฉลย ครบทุกวิชา ส
แนวข้อสอบกพ 67 PDF
PDF แนวข้อสอบ กพ 2567-68 ใหม่ ล่าสุด ครบทุกวิชา ใช
แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 67 PDF
ข้อสอบครูผู้ช่วย 67 PDF พร้อมเฉลย อธิบายละเอียด ภา
แนวข้อสอบกพ 64
PDF แนวข้อสอบกพ สอบ ก.พ. สอบภาค ก. สอบราชการ
แนวข้อสอบท้องถิ่น 64
ไฟล์แนวข้อสอบท้องถิ่น 64 พร้อมเฉลย PDF ตัวอย่าง คร
แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 64
สอบครูผู้ช่วย 64 อย่างมั่นใจ ข้อสอบครูผู้ช่วยครบทุ
แนวข้อสอบ ก.พ.
เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบ ก.พ. อย่างมั่นใจ กับ
ไฟล์ แนวข้อสอบ PDF
ข้อสอบท้องถิ่น 2567 PDF
สอบข้าราชการท้องถิ่น ภาค ก กสถ ครบทุกวิชา ข้อมูลครบครัน เนื้อหาจัดเต็ม
ข้อสอบ กพ 2568 PDF
สอบบรรจุข้าราชการ ก.พ. ครบทุกวิชา เด็มคุณภาพ เต็มข้อมูล เฉลยอธิบายละเอียด
ข้อสอบ กพ 2564 PDF
สอบบรรจุข้าราชการ ก.พ. ครบทุกวิชา เด็มคุณภาพ เต็มข้อมูล เฉลยอธิบายละเอียด
ข้อสอบท้องถิ่น 2564 PDF
สอบข้าราชการท้องถิ่น ภาค ก กสถ ครบทุกวิชา ข้อมูลครบครัน เนื้อหาจัดเต็ม
ข้อสอบครูผู้ช่วย 2564 PDF
สอบบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ ภาค ก ภาค ข ครบทุกวิชา 1,800 ข้อ 800 หน้า.
ไฟล์ PDF ข้อสอบ ก.พ. 2563
สอบบรรจุข้าราชการ ภาค ก. เนื้อหาแน่น ข้อมูลจัดเต็ม มีเฉลยอธิบายอย่่างละเอียด
หนังสือแบบเล่ม
หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข. ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สอบท้องถิ่น ภาค ข.ครบทุกเนื้อหาในการสอบ
หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข สอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ปฏิบัติงาน สอบนักวิชาการจัดเก็บรายได้ ตรงจุดตรงประเด็น
หนังสือเตรียมสอบนายสิบตำรวจทุกสายงาน สายอำนวยการ สายปราบปราม ตรงเป้า ตรงประเด็น
หนังสือเตรียมสอบท้องถิ่นภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วยท้องถิ่น ใช้สอบท้องถิ่น ภาค ข
หนังสือติวสอบ ก.พ. สอบภาค ก. ระดับ 3 (ปริญญาตรี) เนื้อหาแน่น ครบเครื่องในเล่มเดียว
หนังสือคู่มือเตรียมสอบครูผู้ช่วย เตรียมสอบครูผู้ช่วยภาค ก และ ครูผู้ช่วย ภาค ข สังกัด สพฐ.
หนังสือข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก เจ้าพนักงานท้องถิ่นภาค ก เพื่อสอบ อปท. อบต. อบจ. เทศบาล
สอบนายสิบ 4 เหล่าทัพ สอบนายสิบ ตำรวจ ทหาร และจ่าทหาร ได้ทุกหน่วยงาน เจาะข้อสอบตรงเป้า
สอบท้องถิ่น ภาค ข ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน ตรงประเด็น เนื้อหาเน้นๆ ชัดเจน
หนังสือแนวข้อสอบ TOEIC สอบภาษาอังกฤษ ระบบใหม่ New TOEIC