7 วิธีอ่านหนังสือสอบ

เพื่อเป็นข้าราชการ [เทคนิค]

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ วิธีอ่านหนังสือสอบเพื่อได้บรรจุราชการ อ่านหนังสือสอบอย่างไรเพื่อได้เป็นข้าราชการ


ปัญหาหลักในการอ่านหนังสือส่วนใหญ่มาจากความเหนื่อยล้า ความเบื่อหน่าย ความมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำ เพราะผู้เข้าสอบราชการส่วนใหญ่นั้นมีหน้าที่การงานที่ต้องปฏิบัติ หรือมีครอบครัวที่ต้องดูแล อีกทั้งสภาพแรงกดดันต่างๆในชีวิตก็มีมากมาย ทำให้เวลาที่จะอ่านหนังสือก็พลอยลดน้อยลงไปด้วย ผู้เขียนจึงอยากแนะนำเทคนิควิธีการอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าใจเนื้อหาของวิชาต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น


ในหลายๆคนเลือกที่ติวสอบ หรือเลือกติวออนไลน์เพียงอย่างเดียว หลายคนเลือกที่จะอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว หลายคนเลือกที่จะอ่านเฉพาะสรุป แต่จากสิถิติที่ผ่านมาในช่วงหลายปีมานี้ ยอดผู้ผ่านสอบ หรือผู้สอบได้กลับยิ่งลดน้อยถอยลงไปทุกๆปี ทั้งที่อัตราว่างก็มีอยู่พอสมควร แต่กลับไม่มีผู้สอบผ่าน ด้วยผู้ออกข้อสอบนั้น มักจะเลือกที่จะเอาประเด็นรอง หรือประเด็นย่อยๆ มาออกข้อสอบ ฉะนั้นการอ่านหนังสือด้วยตนเอง จึงยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้เรามีโอกาสที่จะสอบผ่าน

วิธีอ่านหนังสือสอบเพื่อได้บรรจุราชการ

1. การทำความเข้าใจ

ก่อนที่เราจะเริ่มลงมืออ่าน เราควรต้องทำความเข้าใจกับหนังสือเล่มที่เราจะอ่านก่อน เพราะรูปแบบของแต่ละเล่มแต่ละเรื่องมีความแตกต่างกัน เราต้องรู้ว่าหนังสือเป็นลักษณะใด เป็นแบบมีเนื้อหา หรือเป็นแบบแนวข้อสอบ หรือเป็นข้อมูลสรุป เป็นแบบสั้น หรือแบบยาว ลักษณะของแนวข้อสอบมีเฉลยเป็นแบบไหน จัดเป็นชุด เป็นหมวดหมู่ไว้ในรูปแบบใดบ้าง

โดยที่เราสามารถหาอ่านได้จากสารบัญหรือหัวข้อย่อยต่างๆ แต่เราไม่จำเป็นต้องไปอ่านพวกประวัติ บทนำให้มากนัก เพราะจะทำให้เสียเวลา ก่อนหน้าที่เราจะตัดสินซื้อ เราก็คงได้ศึกษามากันบ้างแล้ว ให้เน้นไปที่ตัวสารบัญ หัวข้อย่อย บทสรุป บทส่งท้าย เป็นสิ่งที่เราต้องอ่าน จะทำให้เราเข้าใจความสำคัญและจุดประสงค์ของผู้เขียน ว่าต้องการสื่อเน้นไปทางเรื่องใด ให้ทำความเข้าใจตรงจุดต่างๆ เหล่านี้ให้ดี เราค่อยกลับมาเริ่มต้นการอ่าน ก็จะทำให้เราสามารถจัดสรรเวลาวางแผนการอ่านได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว



2. การวางแผนการอ่าน

เมื่อเราได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นของตัวหนังสือแล้ว ก็ให้เราวางแผนเป็นรูปร่าง คิดขึ้นมาเอาไว้ในใจก่อน หรือจะบันทึกแผนการอ่านไว้เลยก็ได้ ว่าเราจะเริ่มอ่านจากจุดใด วิชาใดก่อนในที่นี้ผู้เขียนแนะนำ ให้เราควรเริ่มจากสิ่งที่ยากก่อน สิ่งที่เราไม่ถนัดนั่นเอง เพราะถ้าเราเริ่มจากที่เราถนัดก่อนแล้ว จะทำให้เราเบื่อเร็ว ทำให้ความมุ่งมั่นที่จะอ่านลดตามลงไปด้วย ถ้ายิ่งเวลามีเหลือน้อยค่อยมาตามอ่านวิชายากๆ จะทำเกิดความกดดันและเร่งรีบ จนอาจทำให้เราไม่เข้าใจได้ สูตรการอ่านเราควรตั้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วพัก 10 – 15 นาที เพื่อให้สมองได้ทบทวน แล้วค่อยอ่านต่อไปอีกเรื่อยๆ ตามที่เราตั้งเป้าหมายว่าวันนี้ ช่วงนี้ เรามีเวลาที่จะอ่านกี่ชั่วโมง และให้ดำรงในจุดมุ่งหมายที่เราได้ตั้งเวลากำหนดเอาไว้



3. การลงมืออ่านหนังสือ

มาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการอ่าน ก็คือการลงมือทำ แล้วควรเริ่มอ่านเมื่อใด!! ตรงนี้เป็นสิ่งยากที่จะบอกได้ เพราะความพร้อมของคนเราแตกต่างกัน แต่พอสรุปได้คร่าวๆได้ดังนี้ เมื่อเราได้วางแผนการอ่านไว้แล้ว ให้เริ่มปิดเน็ตโทรศัพท์มือถือ ปิดสิ่งรบกวนต่างๆก่อนพอถึงจังหวะนี้ ให้จำเอาไว้ว่า…เราจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม ก็ให้ลงมืออ่านได้เลย อย่ารอจนกว่าจะพร้อม อย่ารอให้ร่างกายเราพร้อม อย่ารอให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมก่อน อย่ารอว่าจะไม่ง่วง อย่ารอว่าจะเป็นการฝืนตัวเอง อย่ารอเพราะกลัวว่าจะอ่านไม่รู้เรื่อง อย่ารอให้ความจำเราพร้อม เพราะเมื่อถึงเวลาตอนนั้น…เราอาจจะไม่พร้อมอีกแล้วก็ได้จงทำทุกช่วงเวลาให้พร้อม ความพร้อมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราเริ่มลงมือทำ สภาพจิตใจของเราจะตื่นตัวเอง พยายามกระตุ้นตนเองให้มีสมาธิให้ได้ และให้ทำตามแผนที่เราได้กำหนดไว้ ทำไปเลยไม่ต้องรอ หนังสือบางเล่มเราสามารถพกพาไปได้ หรืออย่างพวก PDF ก็สามารถอ่านได้ในมือถือ หรือแท็บเลต ยามที่เราว่าง ช่วงเวลากลางวันหรือช่วงเวลาเดินทาง นั่งรถไฟฟ้า หรือรถต่างๆ ก็ให้เปิดหนังสือขึ้นมาอ่านได้เลย มากหรือน้อยก็ให้ลงมือทำไปก่อนเลย ทำไปทีละบท ทีละชุด ทีละข้อ อย่าใช้เวลาไปกับเรื่องที่เปล่าประโยชน์ จงจำไว้ว่า ความใฝ่ฝันของเราจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็อยู่ที่การอ่านนี้เอง ทางลัดที่ดีสุดในการได้บรรจุเข้ารับราชการ ก็คือการอ่านหนังสือ ทางลัดนี้ใช้เวลา 3 เดือน แลกกับทั้งชีวิตของเรา คุ้มหรือไม่ ตอบตนเองเอานะคะเทคนิคการอ่านหนังสือสอบ


4. การอ่านเพื่อจับใจความ

เป็นการอ่านเพื่อให้เข้าถึงแนวคิด หรือหลักสำคัญของข้อความนั้นๆ โดยใจความสำคัญจะมีลักษณะที่โดดเด่น เป็นย่อหน้าหรือเป็นแก่นของย่อหน้านั้นๆ ที่ครอบคลุมต่อใจความของประโยคอื่น โดยที่ใจความสำคัญจะมีอยู่ 1 – 2 ประโยค ส่วนใจความรอง เป็นประโยคที่ขยายความสำคัญของประโยคหลัก เพื่อให้ใจความสำคัญมีความเด่นชัดยิ่งขึ้นให้เราเริ่มจากการอ่านอย่างคร่าวๆ ให้พอเข้าใจ แล้วหาใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าให้ได้ เมื่อเราอ่านจนจบประโยคแล้ว ให้หาคำว่า ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร เท่าไร ใช่ หรือไม่ใช่ แต่ และ หรือ คำลักษณะนี้จะเป็นตัวบอกจุดมุ่งหมายของใจความหลักนั้นๆ ซึ่งใจความหลักที่อยู่ในย่อหน้า อาจจะมีมากกว่า 1 ใจความก็ได้



5. การบันทึกข้อความที่สำคัญ

เมื่อเราสามารถจับใจความสำคัญในประโยค หรือย่อหน้า หรือโจทย์นั้นๆ ได้แล้ว เราต้องมีการบันทึก เช่นการเขียนโน็ต การขีดเส้นใต้ การทำไฮไลท์เอาไว้ด้วย เพื่อที่เราจะได้เห็นใจความสำคัญนั้นๆ และทำให้เข้าใจจุดประสงค์ของประโยค รวมไปถึงเวลาที่เราย้อนกลับมาอ่านทบทวน จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการหาใจความนั้นอีก อีกทั้งยังเป็นการฝึกฝนให้ชำนาญในการหาใจความหลัก เพราะเวลาที่ต้องทำข้อสอบจริง การอ่านโจทย์ อ่านคำตอบ เราจะสามารถจับใจได้อย่างรวดเร็ว ว่าข้อนั้นๆ ถามถึงอะไรการบันทึกข้อความนั้นมีประโยชน์มาก แต่เราต้องใช้ให้ถูกวิธี ไม่ควรขีดเส้น หรือทำไฮไลท์จนเปรอะไปทั้งหน้า และก็ไม่ควรทำน้อยจนเกินไป ให้เราเน้นทำเฉพาะใจความสำคัญ หรือข้อสรุป เพราะเมื่อเรากลับมาอ่านอีกครั้ง เราจะได้รู้ในสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ด้วยการมองเพียงครู่เดียว แต่ถ้ามากไปก็จะทำให้สับสน หรือถ้าน้อยไปก็อาจทำให้เราจับใจความนั้นไม่ได้



6. การทำแบบสรุป

หากเป็นประเภทเนื้อหาข้อมูล ไม่ใช่ประเภทแนวข้อสอบ เราอาจทำแบบสรุป โดยการสรุปนั้นต้องทำเพื่อให้เราอ่านเข้าใจ ใครจะอ่านเข้าใจหรือไม่ก็ไม่สำคัญ จงทำให้ตนเองเข้าใจก่อน แบบไหนที่ทำไปแล้ว ทำให้เราเข้าใจก็ทำแบบนั้น แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบการทำสรุปด้วยตนเอง เราก็สามารถทำได้จากวิธีการบันทึกบทความ ทำไฮไลท์ ขีดเส้นใต้ต่างนั้นเองแต่ในหลายๆคน เลือกที่จะอ่านหนังสือแบบสรุป ในแบบสรุปนั้นก็ถือว่าดี แต่อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในวิชาที่เกี่ยวกับกฏหมาย การอ่านฉบับย่ออย่างเดียว จะทำให้ขาดความเข้าใจในประเด็นรอง ซึ่งผู้ออกข้อสอบรู้ถึงจุดนี้ดี จึงมักออกข้อสอบไปในทางประเด็นรองของตัวกฏหมาย ผู้อ่านต้องระมัดเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง วิธีที่ดีอีกอย่างคือการหาหนังสือที่เน้นแนวเฉลยอธิบายละเอียด เพราะจะทำให้เราเข้าใจในข้อรองๆอื่นไปด้วย และเราก็ควรต้องเลือกอ่านในตัวฉบับเต็มไว้อีกด้วย จึงจะได้ใจความที่ครบถ้วนสมบรูณ์



7. การทบทวนข้อมูลเนื้อหา

การทบทวน เป็นการวิเคราะห์ตนเองว่าสิ่งที่เราได้อ่านมานั้น เราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน จดจำได้มากแค่ไหน เราอาจทบทวนได้ด้วยตนเอง เช่นการอ่านออกเสียงในใจในขณะที่ทบทวน การทบทวนอย่างรวดเร็ว คือการย้อนกลับไปอ่านโน็ตบันทึก เส้นใต้หรือไฮไลท์ที่เราได้ทำเอาไว้ จะทำให้การทบทวนรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นการตอกย้ำให้เราจดจำในสิ่งที่เราได้อ่านผ่านมาแล้ว และสามารถทำให้เราเข้าใจได้มากกว่าการอ่านเพียงแค่ครั้งเดียว สามารถดูได้เพิ่มเติมจาก [เทคนิค] 8 วิธีเตรียมสอบให้ได้บรรจุราชการ



8. การดำรงเป้าหมาย

การจะทำอะไรให้ประสบผลสำเร็จนั้น ย่อมต้องมีราคาที่เราต้องจ่าย เราต้องยอมแลกด้วยความตั้งใจอย่างแท้จริง ทุกๆอย่างนั้นเริ่มที่ตัวเรา การให้กำลังใจกับตัวเองให้ก้าวข้ามผ่านอุปสรรค ฝันฝ่าไปให้ถึงจุดมุ่งหมาย หากเราเกิดความเบื่อหน่าย ขี้เกียจอ่านหนังสือ ท้อแท้กับการอ่าน ให้เรานึกถึงภาพแห่งอนาคต ให้นึกถึงวันที่เราสอบได้ นึกถึงวันที่เราได้รับการบรรจุเข้าราชการ นึกถึงเสื้อผ้าที่เราจะได้สวมใส่ ภาพของครอบครัวของเรามาร่วมแสดงความยินดีกับเรา ภาพของรอยยิ้มลูกของเรา วันนั้นคงจะเป็นวันที่เราภาคภูมิใจมากที่สุด เราต้องหมั่นสร้างกำลังใจให้ตัวเองในทุกๆวัน เพื่อเป็นพลังให้เราดำรงไว้ซึ่งจุดมุ่งหมายอย่างแน่วแน่

อ่านหนังสือสอบอย่างไรเพื่อได้เป็นข้าราชการ

สรุป : วิธีอ่านหนังสือสอบ เพื่อเป็นข้าราชการ


จากบทความ อ่านหนังสือสอบอย่างไรเพื่อได้เป็นข้าราชการ จะเห็นว่าผู้เขียนจะเน้นหนักไปที่การลงมือทำ ก็คือการอ่านนั้นเอง เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การอ่านหนังสือถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดกว่าว่าได้ เป็นปัจจัยชี้ขาดผลการสอบ ยิ่งเป็นการสอบราชการด้วยแล้ว การจะสอบได้อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เราได้บรรจุ เราต้องทำคะแนนให้ได้มากที่สุดด้วย ฉะนั้นเราไม่เพียงแต่ต้องอ่านหนังสือเท่านั้น เรายังควรต้องมีเทคนิคดีๆ หามาช่วยเสริมให้เรามีโอกาสที่สอบได้ สอบผ่านเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ดู [เทคนิค] การทำข้อสอบให้ได้บรรจุราชการ




ฝากเก็บดวงดาวให้กับเนื้อหาข้อมูล-สินค้าบริการของหน้านี้ด้วยจ้า

(ดวงดาวจะถูกส่งตรงไปที่ Google Search Engine Result)
คะแนนจะนับครั้งแรกต่อ 1 ip = 1 ความเห็น
(♥ ขอขอบคุณทุกๆดวงดาวที่เรามีให้กัน ♥)
 
0 / 5

ดาวที่ให้ไว้

ตัวอย่าง แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย PDF

แนวข้อสอบท้องถิ่น 67 PDF

PDF แนวข้อสอบท้องถิ่น 67 68 พร้อมเฉลย ครบทุกวิชา ส

แนวข้อสอบกพ 67 PDF

PDF แนวข้อสอบ กพ 2567-68 ใหม่ ล่าสุด ครบทุกวิชา ใช

แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 67 PDF

ข้อสอบครูผู้ช่วย 67 PDF พร้อมเฉลย อธิบายละเอียด ภา

แนวข้อสอบกพ 64

PDF แนวข้อสอบกพ สอบ ก.พ. สอบภาค ก. สอบราชการ

แนวข้อสอบท้องถิ่น 64

ไฟล์แนวข้อสอบท้องถิ่น 64 พร้อมเฉลย PDF ตัวอย่าง คร

แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 64

สอบครูผู้ช่วย 64 อย่างมั่นใจ ข้อสอบครูผู้ช่วยครบทุ

แนวข้อสอบ ก.พ.

เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบ ก.พ. อย่างมั่นใจ กับ

ไฟล์ แนวข้อสอบ PDF

99 ฿


ข้อสอบท้องถิ่น 2567 PDF

สอบข้าราชการท้องถิ่น ภาค ก กสถ ครบทุกวิชา ข้อมูลครบครัน เนื้อหาจัดเต็ม

99 ฿


ข้อสอบ กพ 2568 PDF

สอบบรรจุข้าราชการ ก.พ. ครบทุกวิชา เด็มคุณภาพ เต็มข้อมูล เฉลยอธิบายละเอียด

90 ฿


ข้อสอบ กพ 2564 PDF

สอบบรรจุข้าราชการ ก.พ. ครบทุกวิชา เด็มคุณภาพ เต็มข้อมูล เฉลยอธิบายละเอียด

99 ฿


ข้อสอบท้องถิ่น 2564 PDF

สอบข้าราชการท้องถิ่น ภาค ก กสถ ครบทุกวิชา ข้อมูลครบครัน เนื้อหาจัดเต็ม

115 ฿


ข้อสอบครูผู้ช่วย 2564 PDF

สอบบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ ภาค ก ภาค ข ครบทุกวิชา 1,800 ข้อ 800 หน้า.

115 ฿


ไฟล์ PDF ข้อสอบ ก.พ. 2563

สอบบรรจุข้าราชการ ภาค ก. เนื้อหาแน่น ข้อมูลจัดเต็ม มีเฉลยอธิบายอย่่างละเอียด

หนังสือแบบเล่ม

380 ฿


หนังสือเตรียมสอบนายสิบตำรวจทุกสายงาน สายอำนวยการ สายปราบปราม ตรงเป้า ตรงประเด็น

380 ฿


หนังสือคู่มือเตรียมสอบครูผู้ช่วย เตรียมสอบครูผู้ช่วยภาค ก และ ครูผู้ช่วย ภาค ข สังกัด สพฐ.

280 ฿


หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข สอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ปฏิบัติงาน สอบนักวิชาการจัดเก็บรายได้ ตรงจุดตรงประเด็น

450 ฿


สอบนายสิบ 4 เหล่าทัพ สอบนายสิบ ตำรวจ ทหาร และจ่าทหาร ได้ทุกหน่วยงาน เจาะข้อสอบตรงเป้า

450 ฿


หนังสือเตรียมสอบท้องถิ่นภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วยท้องถิ่น ใช้สอบท้องถิ่น ภาค ข

360 ฿


สอบท้องถิ่น ภาค ข ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน ตรงประเด็น เนื้อหาเน้นๆ ชัดเจน

450 ฿


หนังสือติวสอบ ก.พ. สอบภาค ก. ระดับ 3 (ปริญญาตรี) เนื้อหาแน่น ครบเครื่องในเล่มเดียว

650 ฿


หนังสือแนวข้อสอบ TOEIC สอบภาษาอังกฤษ ระบบใหม่ New TOEIC

345 ฿


หนังสือข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก เจ้าพนักงานท้องถิ่นภาค ก เพื่อสอบ อปท. อบต. อบจ. เทศบาล

350 ฿


หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข. ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สอบท้องถิ่น ภาค ข.ครบทุกเนื้อหาในการสอบ