9 วิธีทำข้อสอบ

ให้ได้บรรจุราชการ [เทคนิค]

เทคนิค วิธีทำข้อสอบให้ได้บรรจุรับราชการ งานราชการ รัฐวิสาหกิจ


การสอบผ่าน ไม่ได้หมายความว่าจะได้บรรจุ ต้องสอบให้ได้คะแนนที่ดีด้วย เพื่อลำดับบัญชีเรียกที่ดีในการเข้ารับราชการ จึงนับเป็นบททดสอบที่ยากเย็นพอสมควร อีกทั้งคู่แข่งของเราก็มีจำนวนผู้เข้าสอบมากมาย ล้วนแต่ต้องต้องแข่งขันกันทั้งสิ้น (ยกเว้นแต่การสอบ ก.พ. ที่เราต้องแข่งขันกับตนเอง) การทำข้อสอบนับเป็นเทคนิคที่สำคัญมากๆ สำหรับคนที่ได้อ่านแนวข้อสอบมาบ้างแล้ว จะยิ่งทำมีโอกาสในการทำคะแนนให้สูงยิ่งขึ้น


แต่ในบางคนก็อาจไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ หรือเวลาจะอ่านก็ดันไม่มีสมาธิซะงั้น !! หรือต้องถูกรบกวนจากนู้นนี่ ซึ่งคนทำงานหรือคนมีครอบครัวแล้วก็มักเจอปัญหานี้ ทำให้ขาดสมาธิไม่สามารถจดจ่ออยู่กับเนื้อหาของหนังสือได้ แต่เรามีเทคนิคการทำข้อสอบมาเป็นแนวทาง เพื่อช่วยให้สามารถมีคะแนนที่ดีได้ (แต่ยังไงก็แนะนำต้องอ่านมาบ้าง ไม่ใช่ไม่อ่านเลย อันนี้ก็จะกลายเป็นการมั่วข้อสอบแล้ว ส่วนคนที่อ่านแล้ว ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสทำคะแนนให้สูงขึ้น)

เทคนิคการทำข้อสอบ

1. การกรอกข้อมูล

เราควรตรวจสอบและกรอกให้ถูกต้องและชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ใช่มาทำกันทีหลัง เพราะเวลาที่เหลือน้อยจะทำให้เร่งรีบ ยิ่งเร่งก็อาจทำให้หลงลืมหรือกรอกผิด สู้อุตส่าห์อดตาหลับขับตานอนอ่านหนังสือ แต่ดันกรอกผิด จบเห่กันพอดี เริ่มแรกให้เรากรอกข้อมูลต่างๆก่อน จากนั้นก็อ่านคำสั่งให้ดีว่าจะให้กากบาทหรือให้ฝนข้อสอบ และมีอะไรเพิ่มเติมอีกไหม มีกี่แผ่นก็กรอกให้ครบก่อน อ่านให้ดีทุกตัวอักษรว่าให้ทำอะไร อย่างไร แบบใด



2. การวิเคราะห์คำถาม

เพราะคำถามสำคัญกว่าคำตอบ เราจึงต้องอ่านคำถามให้ดี ให้ละเอียด ให้แม่นยำ ยิ่งเป็นข้อสอบบรรจุราชการด้วยแล้ว ความยากจะมากเป็นเท่าทวี จะมีคำถามที่สลับซับซ้อน ให้เราพิจารณากับคำเหล่านี้ให้ดี เช่นคำว่า “มี” “ไม่มี” “ใช่” “ไม่ใช่” “หรือ” “และ” “ถ้า” และในบางข้อมีผสมปนกันหลายๆคำเข้าไปอีก และยังมีที่เป็นข้อสอบโจทย์ยาวๆก็มีอีก

เราจึงต้องจับใจความหลักให้ได้ก่อน ว่าข้อสอบถามถึงอะไร อย่างไร เช่นไร ส่วนการฝึกฝนการอ่านคำถาม และจับใจความของคำถาม เราสามารถฝึกได้จากการทำแนวข้อสอบ การฝึกทำโจทย์บ่อยๆ โดยเฉพาะพวกโจทย์ที่ยาวๆ หรือมีคำตอบแบบยาวๆ สลับซับซ้อน และต้องมีเฉลยที่อธิบายละเอียด เพื่อให้เราสร้างความเข้าใจไปด้วยว่าทำไมจึงต้องข้อนั้นๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติม [เทคนิค] 7 วิธีอ่านหนังสือสอบได้เป็นข้าราชการ

การฝึกทำโจทย์ย่อมเป็นการเตรียมตัวที่ดี เพราะเมื่อถึงเวลาที่ต้องสอบจริงๆ จะทำเราตื่นเต้นน้อยลง และมีประสบการ์ณในการวิเคราะห์ทั้งคำถาม-คำตอบ เมื่อต้องเจอกับข้อสอบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแล้ว เราก็จะวิเคราะห์ข้อสอบได้ว่ากำลังถามถึงเรื่องอะไร เพราะเราได้คุ้นเคยกับรูปแบบของคำถามมาก่อนแล้วนั่นเอง



3. การวิเคราะห์คำตอบ

จากประสบการ์ณของผู้เขียน ที่มีหน้าที่การงานเป็นผู้ออกข้อสอบ ตรวจทานข้อสอบ ช้อยส์คำตอบก็มักจะมีอยู่ 4 – 5 ข้อด้วยกัน โดยหลักการส่วนใหญ่ของผู้ออกข้อสอบนั้น จะต้องคิดคำตอบที่ถูกต้องไว้ก่อน แล้วจึงค่อยมาหาคำตอบที่ผิดใส่ เพื่อให้ครบจำนวนตัวเลือกของแต่ละข้ออีกครั้งนึง หรือจะคิดกันทีหลังก็ตามที บางครั้งก็จะมาแต่งเติมคำตอบเอาทีหลังนี่ล่ะ เพราะว่าการจะคิดคำตอบให้ผิดนั้นยากกว่าคิดคำตอบให้ถูกซ่ะอีกนะ

ถ้าเราเห็นคำตอบที่มีตัวเลือกที่เหมือนกัน ข้อนี้อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง เพราะถ้ามีข้อหนึ่งถูก อีกข้อหนึ่งก็จะพลอยถูกต้องไปด้วย นอกเสียจากว่าจะมีตัวเลือกที่บอกว่า “ถูกทุกข้อ” “ไม่มีข้อใดถูกต้อง” “ถูกเฉพาะข้อ ….” “ผิดเฉพาะข้อ ….” เพราะข้อพวกเหล่านี้ผู้ออกข้อสอบจะคิดไม่ออกแล้วว่าเอาช้อยส์แบบไหน จึงต้องทำข้อพวกนี้ออกมา

แต่ๆๆ….บางครั้งก็มีหลอกกันอยู่นะ เพราะใช่ว่าทุกๆข้อจะต้องตอบแบบนี้เสมอไป ฉะนั้นต้องอ่านโจทย์คำถามให้ดีด้วย อย่างตัวเลือกที่บอกว่า “ไม่มีข้อใดถูกต้อง” ก็ควรระวังเอาไว้ เพราะคำตอบจะหลอกเราได้ง่ายเหมือนกับคำถาม

สอบอย่างไรให้ได้บรรจุราชการ


4. การเลือกทำสิ่งที่ง่ายไว้ก่อน

เราต้องทำข้อที่เราทำได้ก่อน ต้องเลือกที่จะทำข้อที่ง่ายๆก่อน เพราะนั้นคือโอกาสในการมีแต้มมีคะแนน อย่าไปมัวจดจ่อกับการหาคำตอบให้เสียเวลาและสมาธิ เราต้องรวบรวมพลังโฟกัสไปตรงข้อที่เราทำได้ก่อนเป็นหลัก แต่ในส่วนข้อที่ยากๆ นั้นก็ให้ข้ามไปก่อน เลือกทำข้อที่เราคิดว่าทำได้ก่อน จากนั้นเราค่อยกลับมาทบทวนทำข้อสอบทีหลังได้

การทำข้อสอบเราก็ไม่จำเป็นต้องไล่ไปเป็นหน้าๆ ให้เราเลือกดูวิชาหรือหัวข้อที่เราถนัดหรือมั่นใจในการทำก่อน ถ้าเจอข้อสอบวิชาที่เราไม่ถนัดให้เลื่อนไปทำวิชาที่เราถนัดก่อน แล้วจึงค่อยย้อนกลับมาทำวิชาเหล่านั้นในภายหลังได้ ทุกคะแนนมีความสำคัญ แต่การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่เราถนัดก่อน จะทำให้เรามีคะแนนหลักๆตุนเอาไว้



5. การทำเครื่องหมายไว้บนข้อสอบ

หากข้อสอบข้อไหนที่เราข้ามเอาไว้ ให้เราทำเครื่องหมายกำกับไว้ด้วย ทั้งที่ตัวโจทย์ หรือช้อยส์ในข้อที่เราไม่มั่นใจ เช่นบางครั้งเราอาจเลือก 2 ช้อยส์ แต่ไม่มั่นใจว่าช้อยส์ไหนที่เป็นคำตอบที่แน่นอน ก็ให้ทำเครื่องหมายกำกับไว้ด้วย ส่วนในตัวข้อโจทย์ก็ต้องทำให้เด่นชัด ว่าเป็นข้อไหนที่ยังไม่ได้ทำ หรือจะต้องมาตัดสินใจอีกครั้ง

โดยเราอาจใช้ดินสอจุดๆเอาไว้ เพื่อจะกลับมาทำอีกครั้ง และทำการลบเครื่องหมายเหล่านั้นทีหลังได้ เพราะบางทีเราอาจเผลอไปเลือกคำตอบที่ยังไม่ได้ทำกาผิดช่อง จะทำให้เสียเวลาลบยาวๆและต้องมาทบทวนใหม่อีกด้วย



6. การตัดสินใจเมื่อลังเลใจ

ในที่นี้เราควรยึดตามความคิดแรกของเราเอาไว้ เพราะมีหลายครั้งที่เราอาจไม่มั่นใจในคำตอบนั้นๆ แต่ถ้าความคิดแรกของเราบอกเราว่า น่าจะคำตอบข้อนี้แล้ว ก็ให้เลือกตอบข้อนั้น

อาจจะเป็นเพราะเราเคยคุ้นตากับคำตอบนั้นๆ มาก่อน หรือเราอาจจะเคยอ่านผ่านตามาแล้ว ทำให้เราคุ้นๆ แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ ก็ให้เราทำตามวิธีวิเคราะห์คำตอบ และถ้าได้ทำเครื่องหมายกำกับไว้แล้วด้วย ยิ่งจะทำให้เราตัดตัวเลือกช้อยส์ต่างๆ ให้เหลือน้อยลง ทำให้การตัดสินใจเมื่อเราเกิดความลังเลใจ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปด้วย

การสอบบรรจุรับราขการ


7. การสุ่มคำตอบ

คือการเดานั้นเอง แต่เป็นการคาดเดาอย่างมีเหตุผล แน่นอนว่าในสถานการ์ณที่บีบครั้นนี้ ถ้าจำเป็นต้องเลือกวิธีเดา ไม่ว่าจะเพราะเราไม่มั่นใจในคำตอบ หรือไม่เหลือเวลาอีกแล้ว เราก็จำเป็นที่จะต้องทำมัน เหมือนกับเราเล่นฟุตบอลเป็นกองหน้า แม้มีโอกาสเหลือน้อย มุมจะยิงประตูก็แทบไม่มี แต่เราก็ต้องยิง จะเข้าหรือไม่เป็นอีกเรื่องนึง แต่ถ้าเราไม่ยิงเลยก็คงไม่มีโอกาสที่จะได้ประตูอย่างแน่นอน

เช่นเดียวกัน เราต้องกาคำตอบทุกข้อไว้ก่อน แต่อย่างที่บอกมาในข้อก่อนๆ การทำเครื่องหมายไว้ หรือถ้าข้อไหนเราลังเลใจไว้ ก็ให้ทำตามวิธีนั้นได้เลย อีกข้อที่ควรระวังในการเดาคำตอบ คือการที่เราคิดมากจนเกินเหตุ คิดอยู่แต่กับข้อนั้น เลือกไม่ถูกว่าจะตอบข้อไหน จนบางครั้งทำให้เราทำข้อสอบไม่ทันเวลา

ฉะนั้นเมื่อมีโอกาสก็ต้องยิงประตูแล้ว ผสมกับที่เราได้ตัดช้อยส์ตัวเลือกให้เหลือน้อยลงแล้ว โอกาสที่จะถูกก็มีมากขึ้นเช่นกัน



8. การบริหารเวลา

เราต้องรู้ก่อนว่า การสอบในครั้งนี้มีกำหนดว่าจะใช้เวลากี่ชั่วโมง เพื่อที่จะได้บริหารเวลาได้ถูก และไม่เกิดปัญหาว่าทำไม่ทัน หลายๆคน จะเรียกว่าส่วนมากเลยก็ได้ ทำข้อสอบไม่ทัน เพราะเวลาที่เราจดจ่อสมาธิอยู่กับการทำข้อสอบ เวลามันก็จะผ่านไปอย่างรวดเร็ว รู้ตัวอีกทีก็แทบหมดเวลาแล้ว

ฉะนั้นในข้อก่อนๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น การเลือกทำสิ่งที่ง่าย การทำเครื่องหมาย การตัดสินเมื่อลังเล ก็เพื่อให้เราบริหารเวลาได้เป็นสัดส่วน แต่กระนั้นก็ดี ก็อย่ามัวพะวงเรื่องเวลาให้มากในขณะที่เราทำข้อสอบ เพราะอาจจะรบกวนจิตใจทำให้เราเสียสมาธิได้

และเนื่องจากการสอบข้าราชการนั้น บางครั้งอาจจะไม่มีนาฬิกาแขวนไว้ให้เราดู และไม่สามารถนำโทรศัพท์มือถือติดตัวเข้าไปได้ เราควรหาใส่นาฬิกาข้อมือ แบบอนาล็อก ติดตัวไปด้วยทุกครั้ง เพื่อคอยเช็คเวลาการทำข้อสอบ บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ตรงนี้ต้องดูกติกาการสอบของแต่ละแห่ง ว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง)



9. การตรวจทานข้อสอบ

เมื่อเราได้ทำข้อสอบครบในเบื้องต้นแล้ว หรือเมื่อเวลาเหลืออีกแค่ 15 – 20 นาที ไม่ว่าเราจะทำครบหรือไม่ก็ตาม ให้หยุดทำไว้ก่อน แล้วกลับมาทำข้อสอบที่ค้างไว้อีกครั้ง หากมีข้อไหนที่ยังไม่ได้ทำ หรือไม่ได้เลือกคำตอบไว้ ให้รีบทำให้เสร็จก่อน

และก่อนที่จะตัดสินใจออกจากห้องสอบ เราต้องตรวจสอบว่าได้เขียนข้อมูล ชื่อ เลขที่ต่างๆ ครบถ้วนรึยัง ถูกต้องรึยัง ทำข้อสอบครบทุกข้อรึยัง ถ้าไม่ครบให้รีบลงมือเลย จะเดาข้อสอบก็ไม่เป็นไร สำคัญมากๆ ห้ามพลาด เพราะเราก็ไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่เราคาดเดาไปนั้น จะเป็นคำตอบที่ถูกหรือผิด แต่อย่างน้อยในข้อนั้นๆ เราก็มีโอกาสที่จะได้คะแนนก็เป็นไปได้เหมือนกัน 

วิธีทำข้อสอบให้ได้บรรจุรับราชการ

สรุป : วิธีทำข้อสอบ ให้ได้บรรจุราชการ


เมื่อเรารู้เกี่ยวกับเทคนิคการทำข้อสอบแล้ว แต่ก่อนจะมาถึงขั้นตอนเหล่านี้ สิ่งสำคัญเราควรมีการเตรียมตัวที่ดีมาก่อนด้วย ดูวิธีเตรียมสอบได้จากที่นี้ [เทคนิค] 8 วิธีเตรียมสอบให้ได้เป็นข้าราชการ เราควรเน้นการอ่านหนังสือเป็นหลัก ตั้งใจในการอ่าน ฝึกทำแนวข้อสอบให้คุ้นชิน ทำความเข้าใจในข้อเฉลยนั้นมาให้ดีเสียก่อน ก็จะช่วยเรามีโอกาสสูง พร้อมกับเลือกใช้วิธีทำข้อสอบตามเทคนิคนี้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ทางผู้เขียนหวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่า แนวทางเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เข้าสอบได้รับประโยชน์ต่างๆ มากที่สุด




ฝากเก็บดวงดาวให้กับเนื้อหาข้อมูล-สินค้าบริการของหน้านี้ด้วยจ้า

(ดวงดาวจะถูกส่งตรงไปที่ Google Search Engine Result)
คะแนนจะนับครั้งแรกต่อ 1 ip = 1 ความเห็น
(♥ ขอขอบคุณทุกๆดวงดาวที่เรามีให้กัน ♥)
 
0 / 5

ดาวที่ให้ไว้

ตัวอย่าง แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย PDF

แนวข้อสอบท้องถิ่น 67 PDF

PDF แนวข้อสอบท้องถิ่น 67 68 พร้อมเฉลย ครบทุกวิชา ส

แนวข้อสอบกพ 67 PDF

PDF แนวข้อสอบ กพ 2567-68 ใหม่ ล่าสุด ครบทุกวิชา ใช

แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 67 PDF

ข้อสอบครูผู้ช่วย 67 PDF พร้อมเฉลย อธิบายละเอียด ภา

แนวข้อสอบกพ 64

PDF แนวข้อสอบกพ สอบ ก.พ. สอบภาค ก. สอบราชการ

แนวข้อสอบท้องถิ่น 64

ไฟล์แนวข้อสอบท้องถิ่น 64 พร้อมเฉลย PDF ตัวอย่าง คร

แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 64

สอบครูผู้ช่วย 64 อย่างมั่นใจ ข้อสอบครูผู้ช่วยครบทุ

แนวข้อสอบ ก.พ.

เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบ ก.พ. อย่างมั่นใจ กับ

ไฟล์ แนวข้อสอบ PDF

99 ฿


ข้อสอบท้องถิ่น 2567 PDF

สอบข้าราชการท้องถิ่น ภาค ก กสถ ครบทุกวิชา ข้อมูลครบครัน เนื้อหาจัดเต็ม

99 ฿


ข้อสอบ กพ 2568 PDF

สอบบรรจุข้าราชการ ก.พ. ครบทุกวิชา เด็มคุณภาพ เต็มข้อมูล เฉลยอธิบายละเอียด

90 ฿


ข้อสอบ กพ 2564 PDF

สอบบรรจุข้าราชการ ก.พ. ครบทุกวิชา เด็มคุณภาพ เต็มข้อมูล เฉลยอธิบายละเอียด

99 ฿


ข้อสอบท้องถิ่น 2564 PDF

สอบข้าราชการท้องถิ่น ภาค ก กสถ ครบทุกวิชา ข้อมูลครบครัน เนื้อหาจัดเต็ม

115 ฿


ข้อสอบครูผู้ช่วย 2564 PDF

สอบบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ ภาค ก ภาค ข ครบทุกวิชา 1,800 ข้อ 800 หน้า.

115 ฿


ไฟล์ PDF ข้อสอบ ก.พ. 2563

สอบบรรจุข้าราชการ ภาค ก. เนื้อหาแน่น ข้อมูลจัดเต็ม มีเฉลยอธิบายอย่่างละเอียด

หนังสือแบบเล่ม

380 ฿


หนังสือเตรียมสอบนายสิบตำรวจทุกสายงาน สายอำนวยการ สายปราบปราม ตรงเป้า ตรงประเด็น

280 ฿


หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข สอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ปฏิบัติงาน สอบนักวิชาการจัดเก็บรายได้ ตรงจุดตรงประเด็น

345 ฿


หนังสือข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก เจ้าพนักงานท้องถิ่นภาค ก เพื่อสอบ อปท. อบต. อบจ. เทศบาล

450 ฿


สอบนายสิบ 4 เหล่าทัพ สอบนายสิบ ตำรวจ ทหาร และจ่าทหาร ได้ทุกหน่วยงาน เจาะข้อสอบตรงเป้า

380 ฿


หนังสือคู่มือเตรียมสอบครูผู้ช่วย เตรียมสอบครูผู้ช่วยภาค ก และ ครูผู้ช่วย ภาค ข สังกัด สพฐ.

450 ฿


หนังสือติวสอบ ก.พ. สอบภาค ก. ระดับ 3 (ปริญญาตรี) เนื้อหาแน่น ครบเครื่องในเล่มเดียว

350 ฿


หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข. ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สอบท้องถิ่น ภาค ข.ครบทุกเนื้อหาในการสอบ

650 ฿


หนังสือแนวข้อสอบ TOEIC สอบภาษาอังกฤษ ระบบใหม่ New TOEIC

450 ฿


หนังสือเตรียมสอบท้องถิ่นภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วยท้องถิ่น ใช้สอบท้องถิ่น ภาค ข

360 ฿


สอบท้องถิ่น ภาค ข ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน ตรงประเด็น เนื้อหาเน้นๆ ชัดเจน