แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย ฟรี

ข้อสอบความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ฟรี

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553

เป็นแนวข้อสอบที่ใช้ในการสอบ สอบ กพ สอบท้องถิ่น ภาค ก. สอบครูผู้ช่วย ภาค ก.

ของหน่วยงานราชการ

ใช้ในการสอบราชการ สอบบรรจุทำงานราชการ

ข้อสอบ กพ  ข้อสอบท้องถิ่น ข้อสอบครูผู้ช่วย หรือ สอบภาค ก ภาค ข สอบรัฐวิสาหกิจ ล้วนใช้หลักการในออกข้อสอบที่คล้ายคลึงกัน ความยากง่ายแทบไม่ต่างกัน หลักการสำคัญคือความเข้าใจที่เรามีต่อวิชานั้นๆ ผ่านมากี่ยุคกีสมัย ก็ยังเป็นไปแนวทางเดิม เพราะหลักของโจทย์มิได้เปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนแต่เพียงรูปแบบภายนอก

ฉะนั้นการจับใจความจึงเป็นหลักสำคัญ และการที่เราได้อ่านข้อสอบบ่อยๆ ลองทำแบบทดสอบบ่อยๆ โดยมีคำเฉลยอธิบายที่ละเอียดและชัดเจนเพียงพอ ก็จะทำให้เราเกิดความชำนาญ และสามารถจับใจความหลักนั้นได้เอง

ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

แนวข้อสอบ กฎหมายการปฏิบัติงานราชการ

ในชุดที่ 1 จำนวน 4 ชุด จะมีข้อสอบจำนวน 40 ข้อ พร้อมคำเฉลยอธิบายละเอียด จะเป็นแบบทดสอบที่เกี่ยวข้องกับ

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553

โดยความสำคัญของ พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนกัน ก่อให้เกิดการบริหารงานที่เป็นเอกภาพ รวมถึงหลักการในการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน และกำหนดการบริหารราชการแนวใหม่เพื่อให้ระบบบริหารราชการสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ให้ไว้ ณ วันใด

 

1. 21 สิงหาคม พ.ศ. 2534

2. 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534

3. 21 กันยายน พ.ศ. 2534

4. 29 กันยายน พ.ศ. 2534

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 1. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ให้ไว้ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2534

 


2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

 

1. ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

3. 3 วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

4. 7 วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 21 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

 


3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มีกี่มาตรา

 

1. 50 มาตรา

2. 55 มาตรา

3. 60 มาตรา

4. 75 มาตรา

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : มี 75 มาตรา

 


4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มีกี่ส่วน

 

1. 2 ส่วน

2. 3 ส่วน

3. 4 ส่วน

4. 5 ส่วน

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มี 4 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ส่วนที่ 2 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ส่วนที่ 3 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ส่วนที่ 4 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

 


5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ส่วนที่ 1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง มีกี่หมวด

 

1. 6 หมวด

2. 7 หมวด

3. 8 หมวด

4. 9 หมวด

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ส่วนที่ 1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง มี 7 หมวดดังนี้
หมวด 1 การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
หมวด 2 การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง
หมวด 3 การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
หมวด 4 การจัดระเบียบราชการในกรม
หมวด 5 การปฏิบัติราชการแทน
หมวด 6 การรักษาราชการแทน
หมวด 7 การบริหารราชการในต่างประเทศ

 


6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามข้อใด

 

1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง, ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค,ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

2. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง, ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค,ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด,ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี,ระเบียบบริหารราชการระดับกระทรวง,ระเบียบบริหารราชการระดับกรม

4. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี,ระเบียบบริหารราชการระดับกระทรวง,ระเบียบบริหารราชการระดับกรม,ระเบียบบริหารราชการรัฐวิสาหกิจ

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 1. เพราะ : มาตรา 4 ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
(1) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
(2) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(3) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

 


7. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางตามข้อใด

 

1. กระทรวง ทบวง กรม

2. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ

3. สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ

4. สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : มาตรา 7 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้
(1) สำนักนายกรัฐมนตรี
(2) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
(3) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(4) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง ส่วนราชการตาม (1) (2) (3) และ (4) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

 


8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา 7 ไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นข้อใด

 

1. พระราชบัญญัติ

2. พระราชกฤษฎีกา

3. พระราชกำหนด

4. กฎกระทรวง

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา 7 ไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ การโอนอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งส่วนราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การโอน ข้าราชการและลูกจ้าง งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินเอาไว้ด้วย แล้วแต่กรณีให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณมีหน้าที่ ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ถูกรวมหรือโอนไปตามวรรคหนึ่ง เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ

 


9. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 การยุบส่วนราชการตามมาตรา 7 ในกรณีที่ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐประสงค์จะรับโอนข้าราชการหรือลูกจ้างตามวรรค 3 ข้อให้กระทำได้โดยมิให้ถือว่าข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามวรรคสามแต่ทั้งนี้ต้องกระทำภายในกี่วันนับแต่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ

 

1. 7 วัน

2. 15 วัน

3. 30 วัน

4. 45 วัน

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 การยุบส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้งบประมาณรายจ่าย ที่เหลืออยู่ของส่วนราชการนั้นเป็นอันระงับไป สำหรับทรัพย์สินอื่นของส่วนราชการนั้นให้โอน ให้แก่ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่รัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราช กฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี สำหรับวิธีการจัดการกิจการ สิทธิและหนี้สินของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุยุบตำแหน่ง อันเนื่องมา แต่การยุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมายหรือ ระเบียบข้อบังคับอื่นแล้ว ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งด้วย ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐประสงค์จะรับโอน ข้าราชการหรือลูกจ้างตามวรรคสามก็ให้กระทำได้โดยมิให้ถือว่าข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ได้พ้นจากราชการตามวรรคสาม แต่ทั้งนี้ต้องกระทำภายใน 30 วันนับแต่พระราชกฤษฎีกา ตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ

 


10. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 ฉ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นข้อใด

 

1. ประมวลกฎหมาย

2. กฎกระทรวง

3. พระราชกำหนด

4. พระราชกฤษฎีกา

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 ฉ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจ หน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ออกกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการดังกล่าว กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 



ทำแบบทดสอบ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  » คลิก
ทำแบบทดสอบ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  » คลิก

1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 สัตต เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 ให้สำนักงานใดเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการภายในและในการกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการตามมาตรา 8 ฉ

 

1. สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณ

2. สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

3.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

4. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงบประมาณ

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ ร่วมกันเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการภายในและในการกำหนดอำนาจ หน้าที่ของแต่ละส่วนราชการตามมาตรา 8 ฉ ในการเสนอความเห็นดังกล่าวให้สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจัดอัตรากำลัง และสำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณ ให้สอดคล้องเสนอไปในคราวเดียวกั

 


2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 เหตุผลในข้อใดที่จะต้องมีการตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่เพื่อเข้ารับหน้าที่

 

1. นายกรัฐมนตรีต้องคำพิพากษาให้จำคุก

2. สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี

3. วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนด นโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของานในสํานักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติโดยจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ในกรณีที่มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี การสั่งและการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่เพราะนายกรัฐมนตรีตาย ขาดคุณสมบัติ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง หรือวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนจากตำแหน่งให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ให้คณะรัฐมนตรีดังกล่าวอำนวยความสะดวกให้หัวหน้าส่วนราชการต่างๆดำเนินการใดๆเท่าที่จำเป็นเพื่อรับแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่มาเตรียมการดำเนินการได้

 


3. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11

 

1. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง

2. บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม

3. แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานสภา ที่ปรึกษารัฐสภา หรือคณะที่ปรึกษารัฐสภาหรือเป็นคณะกรรมการรัฐสภา และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง

4. แต่งตั้งข้าราชการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 3. เพราะ : มาตรา 11 นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการ ส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติ ราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(2) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือ ทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง
(3) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
(4) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้น ที่ไม่สูงกว่าเดิม
(5) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของ อีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมา ดำรงตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่า ขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
(6) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของ นายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือ ค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง
(7) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
(8) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
(9) ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบตาม (8) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้

 


4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 13 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมืองซึ่งมีผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ

 

1. นายกรัฐมนตรี

2. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

3. รองนายกรัฐมนตรี

4. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 13 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการ ทางการเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและให้มีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการและจะให้มีผู้ช่วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้

 


5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 13 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีและรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการเมือง และให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นตามข้อใด

 

1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ

2. ข้าราชการฝ่ายบริหาร

3. ข้าราชการฝ่ายบริหารพลเรือน

4. ข้าราชการฝ่ายบริหารสามัญ

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ส่วนที่ 1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง มาตรา 13 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีและรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ

 


6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตราขึ้นโดยความยินยอมของใคร

 

1. ประธานวุฒิสภา

2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

3. นายกรัฐมนตรี

4. ประธานสภาผู้แทนราษฎร

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตราขึ้นโดยความความยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 


7. ข้อใดไม่ใช่เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ 2534

 

1. ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน

2. กระจายอำนาจและทรัพยากรแก่ท้องถิ่น

3. เพิ่มขั้นตอนการทำงานให้ซับซ้อนเหมาะสมแก่กาลสมัย

4. อำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นกฎหมายที่กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนกันก่อให้เกิดการบริหารงานเป็นเอกภาพ รวมถึงหลักการในการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน และกำหนดการบริหารราชการแนวใหม่ ให้ระบบบริหารราชการสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 


8. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

 

1. กระทรวง ทบวง กรม

2. อบจ. อบต. เทศบาล

3. กรุงเทพมหานคร เทศบาล ตำบล จังหวัด

4. ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ
(1) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
(2) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(3) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

 


9. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ 2534

 

1. ประธานสภาผู้แทนราษฎร

2. นายกรัฐมนตรี

3. ประธานองคมนตรี

4. ประธานวุฒิสภา

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลบริหารราชการแผ่นดิน มีอำนาจในการสั่งราชการส่วนกลาง ส่วนราชการส่วนภูมิภาค และควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น[ /expand]

 


10. สํานักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นอะไร

 

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. กระทรวง

3. ทบวง

4. องค์กรปกครองส่วนกลาง

 

ดูเฉลย ตอบข้อ 2. เพราะ : สํานักนายกรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการของรัฐบาลไทย มีฐานะเทียบเท่ากระทรวงขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

 



แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Vocabulary

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Vocabulary ใช้ในการส

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Reading

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย READING ใช้ในการสอบร

แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Conversation

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Conversation ใช้ในกา

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Grammar

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย GRAMMAR ใช้ในการสอบร

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบ

1. ข้อใดเรียงลำดับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางได้ถูกต้อง

 

1. กระทรวง สํานักนายกรัฐมนตรี ทบวง กรม

2. สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง กรม ทบวง

3. สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม

4. กระทรวง กรม ทบวง สํานักนายกรัฐมนตรี

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 3. เพราะ : การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ได้แบ่งส่วนราชการเป็น 4 รูปแบบ ส่วนราชการทั้ง 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคล คือ
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
(3) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(4) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง

 


2. การจัดตั้งกระทรวงต้องตราเป็นอะไร

 

1. พระราชกำหนด

2. พระราชบัญญัติ

3. พระราชกฤษฎีกา

4. กฎกระทรวง

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 8 การจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

 


3. การยุบเลิกกระทรวงให้ตราเป็นอะไร

 

1. พระราชกฤษฎีกา

2. พระราชกำหนด

3. พระราชบัญญัติ

4. กฎกระทรวง

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 1. เพราะ : มาตรา 8 จัตวา 6 การยุบส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

 


4. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

1. ประเมินผลการปฏิบัติราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรี

2. เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี

3. รับผิดชอบควบคุมราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี

4. แต่งตั้ง โยกย้าย ปลัดทบวง ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : มาตรา 16 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1)รับผิดชอบควบคุมราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี กำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานภายในสำนักนายกรัฐมนตรี
(2)เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี รองจากนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(3)รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วย และจะให้มีผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยก็ได้
(4)ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ

 


5. ข้อใดคือหน้าที่ของปลัดกระทรวง

 

1. ประสานงานระหว่างส่วนราชการให้เกิดความสอดคล้องกัน

2. รับผิดชอบควบคุมราชการในกระทรวง กำกับการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ

3. ไม่ใช่ทั้งข้อ 1.และ ข้อ 2.

4. ถูกทั้งข้อ 1. และ ข้อ 2.

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : มาตรา 21 ในกระทรวงให้มีปลัดกระทรวง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) รับผิดชอบควบคุมราชการในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแผนและแนวทางในการปฏิบัติราชการ กำกับการทำงานให้เกิดประสิทธิผล ประสบงานระหว่างหน่วยราชการให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลการทำงาน
(2) แจ้งผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวง รองจากรัฐมนตรี
(3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง ให้รองปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วย กระทรวงใดมีการจัดกลุ่มภารกิจ จะให้มีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจก็ได้ กระทรวงใดมีภารกิจเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นก็ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกันอนุมัติในกระทรวงนั้นมีรองปลัดเพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษ ให้มีการจัดประชุมพิจารณาร่วมกัน คณะกรรมการแต่ละฝ่ายต้องมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจะครบองค์ประชุม แล้วนำมติดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

 


6. ใครเป็นผู้บังคับบัญชากรม

 

1. รองนายกรัฐมนตรี

2. อธิบดี

3. ปลัดทบวง

4. ปลัดกระทรวง

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 32 มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง

 


7. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักงานเลขานุการกรม

 

1. เลขานุการกรม

2. ปลัดกระทรวง

3. ปลัดสำนักงานเลขานุการกรม

4. หัวหน้าสำนักงานเลขานุการกรม

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 1. เพราะ : มาตรา 33 สำนักงานเลขานุการอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรมและราชการที่มีรายแยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะมีเลขานุการคงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการกรม

 


8. ข้อใดกล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดทบวงได้ถูกต้อง

 

1. เร่งรัด กำกับ ดูแล โครงการที่สั่งการมาจากรัฐสภา

2. เสนอนโยบาย แผนงาน และกำหนดงบประมาณให้รัฐสภาพิจารณา

3. รับนโยบายมาจากทบวง รวมถึงกำกับดูแลการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามนโยบาย

4. ประเมินการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 3. เพราะ : มาตรา 30 สำนักงานปลัดทบวงมีนำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของทบวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่ง ในสังกัดทบวงโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในทบวงให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของทบวง

 


9. กรม ที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีการแบ่งส่วนราชการอย่างไร

 

1. สำนักงานเลขานุการกรม

2. กอง หรือส่วนราชการเทียบเท่า

3. ผิดทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2

4. ถูกทั้งข้อ 1 และข้อ 2

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4 . เพราะ : มาตรา 31 กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงแบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กอง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางคนเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการ ตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้

 


10. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาที่มอบรายงานให้รองอธิบดี

 

1. ปลัดทบวง

2. อธิบดี

3. รัฐมนตรีว่าการทบวง

4. ไม่มีข้อใดถูก

 

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 32 รองอธิบดี ผู้ช่วยอธิบดี ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในกรมมีอำนาจหน้าที่ตามที่อธิบดีกำหนดหรือมอบหมาย

 



ทำแบบทดสอบ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  » คลิก
ทำแบบทดสอบ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  » คลิก

1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 14 หน่วยงานใดมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์

 

1. สำนักนายกรัฐมนตรี

2. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

4. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 3. เพราะ : มาตรา 14 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์ มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และให้มีรองเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็น ผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้ ให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ

 


2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 16 สํานักนายกรัฐมนตรีนอกจากมีนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และยังให้มีผู้ใดอีกคนหนึ่ง

 

1. เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี

2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

3. โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

4. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 16 สำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากมีนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง

 


3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 17 หน่วยงานใดมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของสำนักนายกรัฐมนตรี และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี

 

1. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

2. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

3. สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

4. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 1. เพราะ : มาตรา 17 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการ ประจำทั่วไปของสำนักนายกรัฐมนตรี และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ กรมใดกรมหนึ่งในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติ ราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นราชการของส่วนราชการซึ่งกฎหมายกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่สำนักนายกรัฐมนตรีมีทบวงอยู่ในสังกัดและยังไม่สมควรจัดตั้ง สำนักงานปลัดทบวงตามมาตรา 25 วรรคสาม จะให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ สำนักงานปลัดทบวงด้วยก็ได้

 


4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 18 ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวงตามข้อใด

 

1. สำนักงานรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

2. สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

3. สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และกรม

4. สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง และกรม

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : มาตรา 18 ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางกระทรวงเห็นว่าไม่มี ความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้ ให้ส่วนราชการตาม (2) และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม (3) มีฐานะเป็น กรม

 


5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ในกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามข้อใด

 

1. รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการกำกับการทำงานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์

2. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี

3. .เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ในกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ กำกับการทำงานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง
(2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวง รองจากรัฐมนตรี
(3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง

 


6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 21 วรรคเจ็ด เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 โดยกระทรวงใดมีภารกิจเพิ่มขึ้น และมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีรองปลัดกระทรวงมากกว่าที่กำหนดไว้ คณะกรรมการตามข้อใดจะร่วมกันอนุมัติให้กระทรวงนั้นมีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษ

 

1. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการสำนักนายกรัฐมนตรี

2. คณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

3. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

4. คณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 21 วรรคเจ็ด เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 กระทรวงใดมีภารกิจเพิ่มขึ้น และมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีรองปลัดกระทรวงมากกว่าที่กำหนดไว้ในวรรคห้าหรือวรรคหก คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จะร่วมกันอนุมัติให้กระทรวงนั้นมีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษโดยจะกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

 


7. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 22 สำนักงานรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

 

1. โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

2. เลขานุการรัฐมนตรี

3. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

4. เลขานุการสำนักนายกรัฐมนตรี

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 22 สำนักงานรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการ ทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีก็ได้

 


8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 23 สำนักงานตามข้อใดมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะรวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง

 

1. สำนักงานปลัดกระทรวง

2. สำนักงานนายกรัฐมนตรี

3. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

4. สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวง

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 1. เพราะ : มาตรา 23 สำนักงานปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไป ของกระทรวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัด กระทรวงโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง ในกรณีที่กระทรวงมีทบวงอยู่ในสังกัดและยังไม่สมควรจัดตั้งสำนักงาน ปลัดทบวงตามมาตรา 25 วรรคสาม จะให้สำนักงานปลัดกระทรวงทำหน้าที่สำนักงาน ปลัดทบวงด้วยก็ได้

 


9. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง จะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง เพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้ และให้จัดระเบียบราชการในทบวงเป็นไปตามข้อใด

 

1. สำนักงานนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดทบวง และกรม

2. สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดทบวง และกรม

3. สำนักงานนายกรัฐมนต รีสำนักงานปลัดกระทรวง และสำนักงานโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

4. สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง และสำนักงานโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 25 ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะ จัดตั้งเป็นกระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายก รัฐมนตรีหรือกระทรวง เพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้ และให้จัดระเบียบราชการในทบวงดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงซึ่งเห็นว่าไม่มี ความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้ ให้ส่วนราชการตาม (2) และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม (3) มีฐานะเป็น กรม ในกรณีที่สำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงมีทบวงอยู่ในสังกัด และปริมาณ และคุณภาพของราชการในทบวงยังไม่สมควรจัดตั้งสำนักงานปลัดทบวง จะให้สำนักงาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือสำนักงานปลัดกระทรวงทำหน้าที่สำนักงานปลัดทบวงด้วยก็ได้

 


10. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 31 กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงอาจแบ่งส่วนราชการตามข้อใด

 

1. สำนักงานเลขานุการกระทรวง และกรมหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกรม

2. สำนักงานเลขานุการทบวง และกอง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง

3. สำนักงานเลขานุการกระทรวง และทบวงหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบทบวง

4. สำนักงานเลขานุการกรม และกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง

 

ดูเฉลย
ตอบข้อ 4. เพราะ : มาตรา 31 กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อาจแบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความ จำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้ กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้


สรุป : สาระสำคัญ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

แนวข้อสอบ กฏหมายการปฎิบัติงานราชการ ที่ใช้ออกข้อสอบ เพื่อการ สอบราชการ

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4กันยายน 2534 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติถึงปัจจุบันคือฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553 โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังต่อไปนี้

1. การจัดระเบียบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ
(1) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
(2) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(3) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

2. การปฏิบัติราชการแทน
ในการบริหารราชการแผ่นดินผู้มีอำนาจในการบริหารราชการอาจจะมอบอำนาจในการสั่ง การ อนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น โดยผู้มีอำนาจในการบริหารราชการสามารถมอบอำนาจให้แก่ผู้มีอำนาจชั้นรองเพื่อปฏิบัติราชการแทน โดยที่ผู้มอบอำนาจยังคงดำรงตำแหน่งและยังปฏิบัติหน้าที่อยู่

3. การรักษาราชการแทน
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้มีการรักษาราชการแทน ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งไม่อาจปฏิบัติราชการได้ เพื่อให้การบริหารราชการมีความคล่องตัว เกิดความต่อเนื่อง อันจะเป็นผลให้การบริหารราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี

4. การพัฒนาระบบราชการ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาระบบราชการเพื่อให้การพัฒนาระบบราชการบรรลุประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ทำแบบทดสอบ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  » คลิก
ทำแบบทดสอบ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  » คลิก


ฝากเก็บดวงดาวให้กับเนื้อหาข้อมูล-สินค้าบริการของหน้านี้ด้วยจ้า

(ดวงดาวจะถูกส่งตรงไปที่ Google Search Engine Result)
คะแนนจะนับครั้งแรกต่อ 1 ip = 1 ความเห็น
(♥ ขอขอบคุณทุกๆดวงดาวที่เรามีให้กัน ♥)
 
0 / 5

ดาวที่ให้ไว้

ตัวอย่าง แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย PDF

แนวข้อสอบท้องถิ่น 67 PDF

PDF แนวข้อสอบท้องถิ่น 67 68 พร้อมเฉลย ครบทุกวิชา ส

แนวข้อสอบกพ 67 PDF

PDF แนวข้อสอบ กพ 2567-68 ใหม่ ล่าสุด ครบทุกวิชา ใช

แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 67 PDF

ข้อสอบครูผู้ช่วย 67 PDF พร้อมเฉลย อธิบายละเอียด ภา

แนวข้อสอบกพ 64

PDF แนวข้อสอบกพ สอบ ก.พ. สอบภาค ก. สอบราชการ

แนวข้อสอบท้องถิ่น 64

ไฟล์แนวข้อสอบท้องถิ่น 64 พร้อมเฉลย PDF ตัวอย่าง คร

แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 64

สอบครูผู้ช่วย 64 อย่างมั่นใจ ข้อสอบครูผู้ช่วยครบทุ

แนวข้อสอบ ก.พ.

เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบ ก.พ. อย่างมั่นใจ กับ

ไฟล์ แนวข้อสอบ PDF

99 ฿


ข้อสอบท้องถิ่น 2567 PDF

สอบข้าราชการท้องถิ่น ภาค ก กสถ ครบทุกวิชา ข้อมูลครบครัน เนื้อหาจัดเต็ม

99 ฿


ข้อสอบ กพ 2568 PDF

สอบบรรจุข้าราชการ ก.พ. ครบทุกวิชา เด็มคุณภาพ เต็มข้อมูล เฉลยอธิบายละเอียด

90 ฿


ข้อสอบ กพ 2564 PDF

สอบบรรจุข้าราชการ ก.พ. ครบทุกวิชา เด็มคุณภาพ เต็มข้อมูล เฉลยอธิบายละเอียด

99 ฿


ข้อสอบท้องถิ่น 2564 PDF

สอบข้าราชการท้องถิ่น ภาค ก กสถ ครบทุกวิชา ข้อมูลครบครัน เนื้อหาจัดเต็ม

115 ฿


ข้อสอบครูผู้ช่วย 2564 PDF

สอบบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ ภาค ก ภาค ข ครบทุกวิชา 1,800 ข้อ 800 หน้า.

115 ฿


ไฟล์ PDF ข้อสอบ ก.พ. 2563

สอบบรรจุข้าราชการ ภาค ก. เนื้อหาแน่น ข้อมูลจัดเต็ม มีเฉลยอธิบายอย่่างละเอียด

หนังสือแบบเล่ม

650 ฿


หนังสือแนวข้อสอบ TOEIC สอบภาษาอังกฤษ ระบบใหม่ New TOEIC

450 ฿


หนังสือติวสอบ ก.พ. สอบภาค ก. ระดับ 3 (ปริญญาตรี) เนื้อหาแน่น ครบเครื่องในเล่มเดียว

350 ฿


หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข. ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สอบท้องถิ่น ภาค ข.ครบทุกเนื้อหาในการสอบ

380 ฿


หนังสือคู่มือเตรียมสอบครูผู้ช่วย เตรียมสอบครูผู้ช่วยภาค ก และ ครูผู้ช่วย ภาค ข สังกัด สพฐ.

280 ฿


หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข สอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ปฏิบัติงาน สอบนักวิชาการจัดเก็บรายได้ ตรงจุดตรงประเด็น

450 ฿


สอบนายสิบ 4 เหล่าทัพ สอบนายสิบ ตำรวจ ทหาร และจ่าทหาร ได้ทุกหน่วยงาน เจาะข้อสอบตรงเป้า

380 ฿


หนังสือเตรียมสอบนายสิบตำรวจทุกสายงาน สายอำนวยการ สายปราบปราม ตรงเป้า ตรงประเด็น

360 ฿


สอบท้องถิ่น ภาค ข ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน ตรงประเด็น เนื้อหาเน้นๆ ชัดเจน

450 ฿


หนังสือเตรียมสอบท้องถิ่นภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วยท้องถิ่น ใช้สอบท้องถิ่น ภาค ข

345 ฿


หนังสือข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก เจ้าพนักงานท้องถิ่นภาค ก เพื่อสอบ อปท. อบต. อบจ. เทศบาล