รีวิว สอบ กพ ให้ผ่าน
สอบ กพ ให้ผ่านต้องทำอย่างไร
สอบ กพ หรือ สอบภาค ก.
การสอบ กพ คือการสอบเข้าราชการ เป็นขั้นตอนแรกสำหรับบุคคลที่ประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สอบภาค ก. สอบภาค ข. และสอบภาค ค โดยสำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานที่จัดสอบภาค ก เมื่อผู้เข้าสอบสามารถสอบผ่านภาค ก. จะได้หนังสือรับรองจากสำนักงาน ก.พ. และสามารถนำผลการสอบ ไปแสดงต่อหน่วยงานที่จัดสอบบุคคลเข้ารับราชการในองค์กรนั้น คือภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) โดยส่วนที่สำคัญคือ การสอบภาค ก (สอบ ก.พ.) เพราะถ้ายังไม่ผ่าน กพ ก็ไม่สามารถไปสอบบรรจุในภาคต่อๆไปได้ และจากสถิตที่ผ่านมาในช่วง 10 ปีมานี้ การสอบผ่านภาค ก. แต่ละปีผ่านไม่ถึง 5% แม้เราจะมีเทคโนโลยีมาช่วยสอน ช่วยเรียน ช่วยติวมากมาย กลับยิ่งผ่านน้อยลงๆ และยิ่งนับวันก็ยิ่งยากขึ้นๆ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น !!
สอบ กพ ให้ผ่าน สิ่งแรกที่เราต้องทำก่อน คือการศึกษาข้อมูล และรายละเอียดในการสอบให้ชัดเจนเสียก่อน ว่าจะจัดสอบวิชาอะไรบ้าง มีการให้คะแนนอย่างไร มีการให้คะแนนแต่ละวุฒิที่ใช้สมัครสอบอย่างไร ต้องได้คะแนนเท่าไรจึงจะถือว่าสอบผ่าน ขั้นแรกเรามาดูกันว่าในปีนี้ทางสำนักงาน ก.พ. กำหนดหลักเกณฑ์ใดไว้บ้าง
สารบัญ
สอบ กพ สอบวิชาอะไรบ้าง
การสอบ กพ หรือ การสอบภาค ก
จะมีหลักสูตร และวิธีการสอบแข่งขัน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) โดยเป็นการทดสอบด้วยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย แบ่งได้เป็น 3 ชุดวิชาดังนี้
1. ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
มีคะแนนเต็ม 50 คะแนน (มีข้อสอบที่จะออกสอบจำนวน 25 ข้อ ต้องทำให้ได้ 15 ข้อขึ้นไป จึงจะถือว่าสอบผ่าน) โดยเป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ซึ่งประกอบด้วยกฏมายหลายฉบับ ส่วนใหญ่ที่เคยมีการสอบมาแล้ว มีรายละเอียดดังนี้
• พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
• พรบ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
• พรก. หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
• พรบ. มาตรฐานทางจริยธรรม
• ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ในส่วนของความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
• พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
• พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน
แนะนำ : พรบ .ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ควรอ่านเสริมเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน (จะอ่านหรือไม่ก็ได้)
2. ภาษาอังกฤษ
มีคะแนนเต็ม 50 คะแนน (มีข้อสอบที่จะออกสอบจำนวน 25 ข้อ ต้องทำให้ได้ 13 ข้อขึ้นไป จึงจะถือว่าสอบผ่าน) โดยเป็นการทดสอบทักษะความเข้าใจในภาษาอังกฤษ เพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสื่อสาร วัดความสามารถด้ายการอ่าน การทำความเข้าใจในสาระของข้อความ หรือบทความต่างๆ ทั้งแบบสั้น-ยาว ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น คำ กลุ่มคำ ประโยค ข้อความ และวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น การทดสอบความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษนั้นจะประกอบด้วย
- Conversation : บทสนทนาพื้นฐาน-ประจำวัน (ข้อสอบ 5 ข้อ)
- Vocabulary : คำศัพท์ต่างๆ เช่น คำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกัน (synonym) หรือคำศัพท์ตรงข้ามกัน (antonym) (ข้อสอบ 5 ข้อ)
- Structor – Gramma : โครงสร้างของประโยค (ข้อสอบ 5 ข้อ)
- Reading : เป็นบทความแบบสั้น-ยาว อ่านและตอบคำถาม การจับใจความ การหาคำศัพท์ จากข้อความ หรือบทความ (ข้อสอบ 10 ข้อ)
แนะนำ : สำหรับคนที่สอบ TOEIC สามารถยื่นคะแนน TOEIC ได้โดยต้องมีคะแนนขั้นต่ำ 495 คะแนน (ให้สำรองยื่นเผื่อเอาไว้ด้วย))
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน (มีข้อสอบที่จะออกสอบจำนวน 50 ข้อ ต้องทำให้ได้ 50 ข้อขึ้นไป จึงจะถือว่าสอบผ่าน) การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) คือ ลักษณะความสามารถ ที่จะคิดจำแนก แจกแจง องค์ประกอบของข้อมูลและปัญหาออกมาเป็นประเด็นได้หลายแง่มุม อีกทั้งเป็นการหาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุของเหตุการ์ณที่เกิดขึ้น ได้ถูกต้องอย่างเป็นระบบ สามารถแยกได้ 3 หมวดดังนี้
3.1 การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ
3.1.1 ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ ความสามารถในการประยุกต์ ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น
3.1.2 การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณ ตลอดจนการประเมินความพอเพียงของข้อมูลอาทิเช่น • ทักษะทางตัวเลข • คณิตศาสตร์เหตุผล • ค.ร.น. ห.ร.ม. • ร้อยละ หรือเปอร์เซนต์ • สมการ และอสมการ • ดอกเบี้ย • บัญญัติไตรยางค์ • ผลบวก และผลต่าง • การคำนวณอายุ • สัดส่วน อัตราส่วน • นาฬิกา เวลา • ระยะทาง • กระแสน้ำ • ค่าเฉลี่ย, พื้นที่ และปริมาตร
3.2 การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม คือ การทดสอบความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การหาข้อยุติ หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ สถานการณ์หรือแบบจำลองต่างๆ อาทิเช่น
- แบบจำแนกประเภท, แบบสรุปความ, แบบอุปมาอุปไมย, แบบมิติสัมพันธภาพ, แบบหาตัวร่วม-ตัวต่าง
- การวิเคราะห์เงื่อนไขทางสัญลักษณ์, การสรุปความจากสัญลักษณ์,
- การสรุปความจากภาษาเชิงเปรียบเทียบ, การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ, การวิเคราะห์ตารางข้อมูล
- การทดสอบความรู้ในอนุกรมพื้นฐาน, อนุกรมแบบผสม, อนุกรมหลายชั้น, อนุกรมสัมพันธ์, อนุกรมเชิงซ้อน และการหาที่ผิดในอนุกรม
3.3 การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา คือวิชาภาษาไทย ความสามารถด้านภาษา ความเข้าใจภาษา คำศัพท์ หลักภาษาไทย การใช้ภาษา ทดสอบความสามารถในการอ่านและการทำความเข้าใจกับบทความ บทความสั้น บทความยาว หรือข้อความ การสรุปความ การตีความ การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ คำตรงกันข้าม คำที่มีความหมายใกล้เคียง ศัพท์สัมพันธ์ การเขียนประโยคตามหลักภาษา และการเรียงข้อความ
จำนวนข้อสอบที่คาดว่าจะมีการออกสอบ
- คณิตศาสตร์ทั่วไป (ข้อสอบ 5 ข้อ)
- อนุกรม (ข้อสอบ 5 ข้อ)
- ตาราง (ข้อสอบ 5 ข้อ)
- เงื่อนไขสัญลักษณ์ (ข้อสอบ 10 ข้อ)
- เงื่อนไขภาษา (ข้อสอบ 5 ข้อ)
- อุปมาอุปไมย (ข้อสอบ 5 ข้อ)
- การเรียงประโยค (ข้อสอบ 5 ข้อ)
- การสรุปความ (ข้อสอบ 5 ข้อ)
เกณฑ์การสอบผ่าน ก.พ.
ในทุกวุฒิบัตร ของการสอบ กพ นี้แทบจะไม่แตกต่างกัน และวิชาที่จัดสอบเหมือนกันทุกอย่าง ส่วนความยากง่ายนั้นก็แทบไม่ได้แตกต่างกัน ง่ายสำหรับเราแต่อาจยากสำหรับอีกคน และยากสำหรับเราอาจง่ายสำหรับอีกคน
ฉะนั้นไม่ต้องไปวิตกกับเรื่องเหล่านี้ ให้ตั้งใจอ่านหนังสือก็พอ เพราะนั้นคือทางลัดที่ดีที่สุด
ระดับ 1-2-3 วุฒิ ปวช. – ปวส.- อนุปริญญา – ปริญญาตรี
- ความรู้ลักษณะการเป็นการข้าราชการที่ดี 60% ผ่าน
- ภาษาอังกฤษ 50% ผ่าน
- ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 60% ผ่าน
ระดับ 4 วุฒิ ปริญญาโท
- ความรู้ลักษณะการเป็นการข้าราชการที่ดี 60% ผ่าน
- ภาษาอังกฤษ 50% ผ่าน
- ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 65% ผ่าน
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
สรุป : การสอบ กพ
สอบ ก.พ. มีการสอบในวิชาที่หลากหลาย โดยเฉพาะ วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งจริงๆแล้วในวิชานี้ก็ความรู้พื้นฐานนั่นเอง วิชานี้เอามาจากระดับ ม.ต้น – ม.ปลาย ไม่ได้มีพิสดารอะไร แต่เราหลงลืมไปหมดแล้วนั้นเอง ซึ่งถ้าเราได้ทำฝึกทำแบบทดสอบที่มีเฉลยละเอียด ก็สามารถที่จะฟื้นฟูความจำของเราขึ้นมาได้
ส่วนในวิชาภาษาอังกฤษนั้น ก็นำมาจาก 2 ระดับนั้นเหมือนกัน แต่อาจจะมีความยากขึ้นมาอีกนิด ถ้าเราได้ลงสอบและได้อ่านใน TOIEC มาด้วยก็จะช่วยให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ส่วนใน วิชาความรู้ลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ก็คือวิชากฎหมายนั้นเอง ซึ่งส่วนใหญ่สอบไม่ผ่านวิชานี้ เพราะต้องใช้ความจำค่อนข้างเยอะ และสับสนว่าเป็นมาตราใด หมวดใด
อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากเรามักอ่านแต่สรุป ไม่อ่านฉบับเต็ม ซึ่งผู้ออกข้อสอบรู้ดีถึงจุดนี้ จึงเอาข้อย่อยข้อรองของตัวกฏหมายมาออกนั้นเอง (ดาวน์โหลดฉบับเต็ม 1 ไฟล์ได้จากหน้านี้ คลิก)
อีกทั้งของฟรีมีเยอะ ซึ่งการแจกฟรีนั้นก็มักเป็นข้อสอบของเมื่อหลายปีก่อน ทำให้เราต้องพายเรืออยู่ในอ่าง วนไปวนมา เสียเวลาอ่าน เพราะจุดเน้นต่างๆ ในละปีนั้น ทางผู้ออกข้อสอบได้เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีแต่จะยากขึ้นๆ ก็เพื่อลดจำนวนคนสอบผ่าน เพราะเป็นลดอัตราเจ้าหน้าที่ลงไปอีกด้วย ในที่นี้ทางเราจึงมีเทคนิคดีๆมาฝาก ที่อาจจะช่วยทำให้สอบผ่าน และสามารถสอบได้คะแนนที่ดีได้ กดด้านล่างเข้าไปดูเทคนิคต่างๆ
7 วิธีอ่านหนังสือสอบ
เทคนิคในการอ่านหนังสือสอบเพื่อได้บรรจุราชการ เราควรอ่านหนังสือสอบอย่างไร อ่านได้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด การอ่านที่ดีต้องมีเทคนิค เพื่อช่วยให้…
8 วิธีเตรียมสอบ
การเตรียมตัวที่ดี ย่อมทำให้มีโอกาสที่จะทำข้อสอบได้คะแนนสูงๆ จึงจัดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การสอบผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่น ตามที่ใจของตนนั้นปรารถนา สร้าง…
9 วิธีทำข้อสอบ
เทคนิคการทำข้อสอบ หากเราละเลยส่วนสำคัญของขั้นตอนนี้ไป สิ่งที่เราได้ทำมาทั้งหมดก็จะไม่เกิดประโยชน์ เราต้องรู้วิธีการในการจัดการกับข้อสอบ วิธีการบริหารเวลา การกำหนดเป้า…